วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

การปลูกมะละกอ ส่งป้อนตลาดวันละ 20 ตัน.!!

 ปลูกมะละกอ ส่งมะละกอป้อนตลาดวันละ 20 ตัน.!! พันธ์..ฮอลแลนด์
ถ้าถามถึงแหล่งปลูกมะละกอแหล่ง ใหญ่ของภาคเหนือตอนล่างแล้วล่ะก็เชื่อแน่ว่า จ.สุโขทัยคืออันดับหนึ่งอย่างแน่นอนโดยเฉพาะ อ.ศรีสัชนาลัยที่นี่คือแหล่งปลูกมะละกอแหล่งใหญ่และเก่าแก่แห่งหนึ่งของบ้าน เราและด้วยศักยภาพที่เหนือกว่าในแทบทุกด้านของมะละกอเมื่อเทียบกับพืชดั่ง เดิมที่ชาวบ้านทำกันมาค่อนชีวิต มะละกอคือพืชที่สร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มะละกอคือพืชที่สร้างฐานะความร่ำรวยให้กับพวกเขา และไม่ว่าจะล้มเหลวหรือสำเร็จสักกี่ครั้งพวกเขาก็จะกลับมาปลูกมะละกอและ ต่อสู้กับมะละกออยู่วันยังค่ำนั่นเพราะพืชชนิดนี้เคยสร้างรายได้อย่างที่พวก เขาไม่เคยได้รับจากพืชชนิดอื่นเลย..
ผู้ ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นผู้ที่บุกเบิกและทำให้อ.ศรีสัชนาลัยกลายเป็นแหล่งปลูก มะละกอแหล่งใหญ่ที่วงการรู้จักกันดีก็คือ คุณธีระ วัฒนะอุดมวงศ์หรือเฮียแบงค์และวันนี้เฮียแบงค์คือผู้ปลูกมะละกอรายใหญ่ของ ที่นี่ในนาม ไร่อริศ ที่พ่อค้ารับซื้อในทุกตลาดรู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยพื้นที่ปลูกมากถึง 100 ไร่ ไม่เพียงเท่านั้นเฮียแบงค์ยังส่งเสริมลูกไร่ปลูกเพื่อรับซื้อผลผลิตมะละกอ ป้อนสู่ตลาดต่างๆพื้นที่รวมไม่ต่ำกว่า 300 ไร่หมุนเวียนเพื่อให้มีผลผลิตป้อนตลาดเกือบตลอดทั้งปี โดยมีผลผลิตออกจากพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 20 ตันต่อวัน และวันที่มีผลผลิตมากที่สุดเขาเคยเก็บมะละกอออกถึง 30 ตัน

ไม่ น่าเชื่อว่ากระแสมะละกอฮอลแลนด์ฟีเวอร์ของ อ.ศรีสัชนาลัยที่คาดว่าน่าจะมีพื้นที่ปลูกไม่ต่ำกว่า 1,000 ไร่ ในวันนี้จะเริ่มต้นจากมะละกอเพียง 13 ไร่ของเฮียแบงค์ นักธุรกิจจากเมืองหลวงที่ล้มเหลวจากธุรกิจส่งออกผักผลไม้ ทำให้เขาตัดสินใจกลับไปเริ่มต้นที่บ้านเกิดของเขาเอง 13 ไร่กับการปลูกมะละกอครั้งแรกในชีวิต เขาได้เงินมาเกือบ 2 ล้านบาท เม็ดเงินก้อนนี้เองที่ทำให้เฮียแบงค์ขยายพื้นที่อย่างบ้าระห่ำท่ามกลาง การจับตามองของชาวบ้านที่บอกว่า "เขาบ้า" ปลูกมะละกอเยอะแยะขนาดนี้จะเอาไปขายที่ไหน เขาไม่ใช่แค่ บ้า ปลูกเองเฮียแบงค์ยังประกาศรับสมัครลูกไร่เพื่อปลูกมะละกอส่งขายให้กับเขาอีก ด้วย พืชใหม่ในพื้นที่เริ่มก่อตัวขึ้นทีละเล็กทีละน้อย เฮียแบงค์ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มทุกปี ขณะที่ลูกไร่ก็เพิ่มจำนวนขึ้นทุกปีจากความสำเร็จของคนที่ปลูกก่อนหน้าแต่ละ คนต่างมีรายได้มากมายจากการปลูกมะละกอ สร้างแรงบันดาลใจให้ชาวบ้านหันมาปลูกมะละกอกันมากขึ้นเรื่อยๆจนทำให้ศรีสัช นาลัย กลายเป็นแหล่งปลูกมะละกอแหล่งใหญ่อันดับต้นๆของประเทศในวันนี้

 

สิ่ง หนึ่งที่ทำให้ แบงค์ ประสบความสำเร็จ ก็คือ เขาใส่ใจและทุ่มเทอย่างมากกับมะละกอ เพราะเขารู้ว่าเขาจะได้เม็ดเงินคืนกลับมาอย่างมากมายยิ่งกว่าทุนที่เขาใส่ลง ไปหลายเท่าตัว มะละกอสวนเฮียแบงค์ติดดกเต็มคอ ขนาดลูกสม่ำเสมอ รูปทรงสวย รสชาติหวาน ขณะที่ชาวบ้านบางคนยังไม่เข้าใจในจุดนี้และไม่กล้าลงทุน จึงทำให้ผลผลิตออกมาไม่ดีเท่าที่ควรและหลายคนล้มเหลวจากอาชีพนี้เฮียแบงค์ บอกว่ามะละกอไม่ใช่พืชที่ลงทุนสูงเลย เขาบอกว่าต้นทุนมะละกอตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเริ่มเก็บน่าจะอยู่ประมาณไร่ละ 15,000-20,000 บาท เป็นค่าระบบน้ำมินิสปริงเกลอร์ประมาณ 3,000 บาทที่เหลือเป็น ค่าเตรียมแปลง ค่าปุ๋ยสารเคมี ค่าแรงและอื่นๆ มะละกอจะหนักค่าแรงโดยเฉพาะเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วต้องใช้แรงงานจำนวนมากเฮีย แบงค์มีคนงานมากกว่า 30 คนทั้งทำงานในสวนคัดมะละกอ ในจุดรับซื้อซึ่งจะต้องมีมะละกอเก็บทุกวันๆละ 20 ตัน(5-6 คันรถปิ๊กอัพ)

 

เมื่อ ถามถึงเทคนิคการดูแลมะละกอให้ติดดกรูปทรงสวยรสชาติหวานเกรดเอเฮียแบงค์ บอกว่าอยู่ที่การใส่ปุ๋ยและดูแลเรื่องศัตรูให้อยู่หมัดปุ๋ยในช่วง 1-2 เดือนแรกเฮียแบงค์ใช้สูตรเสมออายุ 3-4 เดือนเปลี่ยนมาใช้สูตร 8-24-24 เพื่อเร่งดอกหลังจากนั้นจะใช้ 8-24-24 สลับกับ 16-16-16 เพื่อบำรุงทั้งดอกและผล อายุ 7 เดือนเพิ่มความหวานโดยใช้ 13-13-21 มาสลับด้วย ปริมาณปุ๋ยจะเพิ่มให้ตามอายุของต้นโดยต้นที่ให้ผลผลิตแล้วก็จะให้ปุ๋ยไร่ละ 1 กระสอบต่อครั้ง ให้ปุ๋ยเดือนละ 2 ครั้งและจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์เป็นช่วงๆอย่างต่อเนื่องทางใบก็จะให้ธาตุอาหาร เสริมแคลเซียม-โบรอนเป็นประจำจะทำให้มะละกอออกดอกติดผลต่อเนื่องติดดกคุณภาพ ผลดี
ส่วน ของศัตรูร้ายของมะละกอคือโรคไวรัสจุดวงแหวนเฮียแบงค์บอกว่าเขาปลูกมะละกอซ้ำ ที่มาโดยตลอดแต่ก็มีปัญหาน้อยมากเฮียแบงค์มีวิธีการจัดการด้วยการพ่น สารป้องกันไวรัส เซล่ามูน+3 อย่างต่อเนื่องทุก 10 วัน ขณะที่ชาวบ้านหลายคนที่ปลูกแล้วล้มเหลวเพราะจัดการไวรัสไม่ได้และไม่รอดจาก ไวรัสเช่นเดียวกับพื้นที่ปลูกมะละกอในแหล่งอื่นๆเฮียแบงค์บอกว่า "ถ้าเอาไวรัสอยู่คุณก็รอดแล้ว"
แม้ วันนี้ราคามะละกอไม่จูงใจเมื่อเทียบกับหลายปีที่ผ่านมาจากปัญหาเศรษฐกิจทำ ให้มะละกอที่เคยขายราคา 12-15 บาท/กก.(หน้าสวน) ในปีที่ผ่านๆมาลดลงมาเหลือ 8-10 บาท/กก.(หน้าสวน)ในปีนี้ก็ทำให้ชาวสวนจำนวนไม่น้อยที่เคยเห็นเม็ดเงินก้อน ใหญ่จากมะละกอถอดใจไปบ้างเหมือนกันเพราะวิกฤติราคามะละกอปีนี้นับว่าไม่เคย เกิดขึ้นเลยในรอบ 10 ปีมานี้ราคามะละกอดีต่อเนื่องมาตลอด แต่ถึงกระนั้นมะละกอก็ยังคันรถละ(3-4 ตัน) 25,000-30,000 หมื่นบาท ขณะที่มะละกอเก็บผลผลิตทุก 3-4 วันหรือสัปดาห์ละ 2 ครั้ง บอกได้เลยว่าชาวสวนยังมีรายได้มากมายเมื่อเทียบกับการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายใน การดูแลมะละกอ แต่ที่บ่นกันทุกรายก็เพราะเคยได้ราคาสูงไงค่ะ (มะละกอ 10 ไร่ จะเก็บผลผลิตได้ประมาณ 3 ตันต่อครั้งค่ะ)
 

เฮีย แบงค์บอกว่าเขาปลูกมะละกอมาเกือบ 10 ปีจนถึงวันนี้เขาก็ยังมองไม่เห็นว่ามีพืชไหนที่ทำเงินได้ดีเท่ามะละกอหากชาว สวนสามารถผลิตมะละกอคุณภาพหมายถึงผลบนต้นมีแต่เกรดเอมะละกอก็ยังให้ผลตอบแทน ที่ดีแต่ชาวสวนมะละกอในระดับชาวบ้านยังมองไม่เห็นความสำคัญในจุดนี้และยัง ไม่กล้าลงทุนจึงทำให้พวกเขาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรแต่สำหรับเฮียแบงค์ แล้วเขาบอกว่าเขาเกิดจากมะละกอและเขาก็จะยืนหยัดปลูกมะละกอต่อไปยังไม่รู้ ว่าจะหยุดเมื่อไหร่ 
เครดิต :Rakkaset Nungruethail  รักษ์เกษตร 





Email:taajook@gmail.com

4 ความคิดเห็น:

  1. สนใจเมล็ดพันธุ์มะระกอฮอลแลนด์ โทร 082 694 5116
    เมล็ดพันธุ์ของเราเป็นพันธุ์แท้ 100%
    www.nasithome.com

    ตอบลบ
  2. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  3. กำลังจะปลูกตะไคร้8ไร่ หาคนรับซื้ออยู่

    ตอบลบ
  4. กำลังจะปลูกตะไคร้8ไร่ หาคนรับซื้ออยู่

    ตอบลบ