การปลูกและดูแลรักษาพริก
การเตรียมดินแปลงปลูก..
พริกสามารถปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิด แต่ควรเป็นดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำดี ควรไถดินตากไว้ 7-10 วัน ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 3-4 ตัน/ไร่ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 และควรใส่ปูนขาวหรือปูนมาร์ล เพื่อลดความเป็นกรดของดิน
การเพาะกล้า
ควรเพาะเมล็ดเป็นต้นกล้าในกระบะเพาะก่อน โดยห่อเมล็ดในถุงผ้า และแช่น้ำไว้ 1 คืนหรือแช่สารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น เบนเลท จากนั้นนำไปล้างผ่านน้ำไหลอย่างน้อย 30 นาที เก็บถุงผ้าไว้ในที่ร่มและชื้นอีก 2-3 วัน เมื่อเมล็ดงอกตุ่มรากสีขาวเล็กๆแล้วจึงนำไปเพาะ
ใช้เมล็ด 50 กรัม/ไร่ ผลผลิต 6-7 ตัน/ไร่
การปลูก
ควรปลูกให้มีระยะห่างระหว่างต้น 50 ซม. ระหว่างแถว 70 ซม. ปลูกเป็นแถว ในเขตชลประทานควรยกแปลงให้ให้มีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาวประมาณ 20 เมตร มีร่องทางเดินกว้าง 1 เมตร ร่องน้ำกว้าง 50 ซม.
การใส่ปุ๋ย
· ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 พร้อมกับการเตรียมหลุมปลูกในอัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่
· เมื่อต้นกล้าตั้งตัวหลังย้ายปลูกแล้ว ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 25 กก./ไร่
· หลังปลูก 30 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 25 กก./ไร่
· และใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 50กก./ไร่ เมื่อเริ่มติดผลอ่อนหรืออายุ 60 วัน หลังย้ายกล้า
การป้องกันกำจัดแมลง
ควรใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราคลุกเมล็ดก่อนปลูก เมื่อพบโรคระบาดให้ฉีดพ่นด้วยสาร เบนเลท หรือ ไดโฟลาแทน แมลงศัตรูที่สำคัญคือ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน ฉีดพ่นป้องกันกำจัดทุกๆ 7 วัน ด้วยสาร แลนแนท โตกุไธออน หรือ สารสกัดจากเมล็ดสะเดา ส่วนไรขาวให้ฉีดพ่นด้วยกำมะถันผง ในการฉีดพ่นสารเคมีทุกครั้งควรเสริมปุ๋ยทางใบด้วย
การเก็บเกี่ยว
อายุเก็บเกี่ยวพริกช่อ ประมาฯ 90-105 วัน หลังย้ายกล้า สามารถเก็บผลผลิตได้มากกว่า 10 ครั้ง
ภาพ อินเตอร๋เน็ต
ขอบคุณ www.thongthaiseeds.com
ชาวสวน ชาวเกษตร อาชีพอิสระ..เงินล้าน.!! แนะนำการปลูกพืชเศรษฐกิจ พร้อมวิธีการปลูกให้ชาวรากหญ้า จากผู้มีประสพการณ์ปราชญ์ชาวบ้านหลายๆท่าน.!!
วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558
วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558
การปลูกฟักทอง..เศรษฐกิจ 100 ล้าน!!
สถานที่ปลูกฟักทองมีชื่อเสียงโด่งดัง..!!ที่นากระแซง จ.อุบลราชธานี สร้างรายได้ต่อปีกว่า 100 ล้านบาท..
ด้วยความที่
เป็นพืชที่ทำอาหารได้หลากหลายทั้งคาว-หวาน
จึงทำให้ฟักทองเป็นอีกพืชหนึ่งที่เกษตรกรให้ความสนใจในการปลูกกันมาก
แหล่งปลูกฟักทองแหล่งใหญ่ของบ้านเรามีมากมายโดยเฉพาะภาคอีสาน เช่น ศรีสะเกษ
สกลนคร ขอนแก่น อุบลราชธานี ภาคกลาง ก็เช่น ที่ กาญจนบุรี ราชบุรี
ฉะเชิงเทรา ลพบุรี ภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ ภาคใต้ก็มีปลูกเช่นกัน
แหล่งปลูกฟักทองแหล่งใหญ่ที่เป็นมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีแห่งหนึ่งก็
คือ ต.นากระแซง อ.เดชอุดม
จ.อุบลราชธานี
ที่นี่มีการปลูกฟักทองกันมาก จนทาง ต.นากระแซง
ได้มีการจัดงานเพื่อส่งเสริมอาชีพของเกษตรกรขึ้น ชื่อว่า "บุญบักอื๋อใหญ่"
ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีแรกในปี 2554 การจัดงาน “บุญบักอื๋อใหญ่"
นอกจากจะเป็นงานที่ช่วยประชาสัมพันธ์ให้ฟักทองนากระแซงเป็นที่รู้จักมากยิ่ง
ขึ้นแล้ว
ยังทำให้เกษตรกรได้นำฟักทองจากสวนมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรงอีกด้วยฟักทองในนากระแซงนั้นเป็นพืชที่ชาวบ้าน นิยมปลูกในฤดูแล้งหลังฤดูทำนาปีซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านที่นี่ ซึ่งนอกเหนือจากฟักทองแล้วก็จะมีพืชผักอื่นๆ ที่ชาวบ้านใช้เครื่องมือการเกษตรปลูก กัน อาทิเช่น พริก มะเขือ แตงโม แต่ที่นิยมมากที่สุดจะเป็นฟักทอง เพราะเป็นพืชที่ปลูกง่าย ได้ผลผลิตเร็ว อีกทั้งเรื่องของตลาดก็มีพ่อค้ามารับซื้อถึงที่สวน ถ้าฟักทองราคาก็มีรายได้ก้อนโตได้ไม่ยาก บางปีฟักทองสร้างรายได้ สร้างฐานะให้กับชาวบ้านที่นี่อย่างมากทีเดียว ในแต่ละปีฟักทองสามารถทำรายได้ให้กับชาวตำบลนากระแซงนับ 100 ล้านบาทเลยทีเดียว และมีการกล่าวกันว่า กินฟักทองท้องถิ่นไหนก็ไม่อร่อยเหมือนกินฟักทองนากระแซง
วันนี้ เราจะไปดูฟักทองที่นี่กัน ซึ่งมีการปลูกฟักทองสืบทอดกันมาหลายปีแล้ว คุณนัยนา เจริญภักดิ์ เป็นอีกคนหนึ่งที่ปลูกฟักทองหลังฤดูทำนา คุณนัยนา เล่าว่า ชาวบ้านที่นี่จะปลูกฟักทองกันตั้งแต่พื้นที่น้อยๆ 5 ไร่ไปจนถึงเกษตรกรรายใหญ่ปลูกเป็น 100 ไร่ เฉลี่ยแล้วเกษตรกรแต่ละรายจะปลูกกันประมาณ 20 ไร่ โดยเฉพาะพื้นที่หมู่ 13 จะปลูกเยอะกว่าพื้นที่อื่น คือประมาณ 70 ครัวเรือน ..
คุณ
นัยนา บอกว่า โดยปกติแล้วที่นี่จะนิยมปลูกฟักทองกันช่วงเดือน พ.ย.
และไปเก็บผลผลิตกันในเดือน
ม.ค.อายุการเก็บฟักทองนั้นขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูก ถ้าเป็นพันธุ์เบา
อายุเก็บเกี่ยวก็ 80-90 วัน พันธุ์หนักอายุเก็บเกี่ยว 110-120 วัน
พันธุ์ที่นิยมปลูกกันก็จะมี ศรีเมือง 16 ทองอำไพ 342 ศิลาทอง ศิลาเพชร
การปลูกฟักทองจะเริ่มจากการเตรียมดิน รองพื้นด้วยปุ๋ยคอก 1 ตันต่อไร่
จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ที่เตรียมไว้มาหยอดในหลุมโดย 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ 1
กระป๋อง ระยะห่างต่อต้น 1.50 เมตร ระยะห่างของแถว 2 เมตร
การให้ปุ๋ยจะดูจากสภาพความสมบูรณ์และเวลาว่างของชาวสวนจะใส่ทุกอาทิตย์ก็ได้
หรือใส่ทุก 10 วันครั้งก็ได้ อย่างที่สวนคุณนัยนาจะใส่ทุก 15-20 วัน
ใช้ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 15-15-15 รดน้ำตามทุกๆ 2 วันครั้ง อายุได้ 2
อาทิตย์เริ่มแตกใบอ่อนให้ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อบำรุงต้นและใบทุก 7-10
วันครั้ง เมื่อฟักทองอายุได้ 45 วัน ให้เปลี่ยนสูตรปุ๋ยเป็น13-13-21 ใส่ทุก
10 วันหรือ ทุก 15-20 วันก็ได้ โดยจะใช้ปุ๋ยสูตรนี้ไปจนกระทั่งเก็บเลย
พร้อมกับฉีดพ่นฮอร์โมนบำรุงดอก ผล ต้นทุก 7-10 วัน เพื่อให้ฟักทองผลโต สวย..
เมื่อ
ฟักทองอายุได้ 75-80 วัน(ที่สวนปลูกพันธุ์ศรีเมือง)
ก็จะสามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว โดยจะเก็บครั้งเดียวหมดทั้งแปลง
ผลผลิตไร่หนึ่งได้ประมาณ 4-5 ตัน
ถ้าเป็นพันธุ์อื่นซึ่งเป็นพันธุ์หนักผลผลิตจะเยอะกว่านี้คือประมาณ 5-6
ตันต่อไร่ ฟักทองที่นี่จะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงที่สวนเลย
ลักษณะการซื้อขายก็จะมีอยู่ 2 อย่างคือซื้อเหมาทั้งไร่ๆ
ละหมื่นขึ้นไปราคาตามท้องตลาด อีกอย่างเป็นการซื้อแบบชั่งน้ำหนัก
ราคาเฉลี่ยตลอดทั้งปี อยู่ที่ 8-9 บาท/กก. บางช่วงเคยได้สูงสุด 10-20
บาท/กก.ก็มี เรียกว่าชาวสวนมีกำไรจากการขายฟักทองกันเป็นกอบเป็นกำ
รายได้ต่อไร่ 40,000-50,000 บาท แต่ละคนปลูกกัน 10-20 ไร่ ก็มีรายได้กัน
4-5 แสนบาท ขณะที่ลงทุน 1-2 แสนบาท
ยิ่งถ้าปลูกฟักทองในที่ดอนตอนที่มีผลผลิตน้อยยิ่งได้ราคา คุณนัยนา บอกว่า
ชาวสวนที่ปลูกฟักทองแล้วขายได้ราคาได้ดีๆ จะเป็นคนที่ปลูกในพื้นที่ดอน
ไม่มีน้ำท่วมขัง โดยเริ่มปลูกตั้งแต่เดือน ส.ค.-ก.ย. แล้วไปเก็บช่วงเดือน
ต.ค.ไปจนถึงปลายเดือน พ.ย.ช่วงนี้จะได้ราคาที่ดี
เพราะฟักทองจะออกก่อนช่วงที่ชาวบ้านจะปลูกกันเยอะหลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จ
จึงทำให้ผลผลิตออกมาประดังประเดกันเยอะในช่วงนี้
อย่างไรก็ตามแม้จะมีผลผลิตออกมามากเพียงไร ทุกปีฟักทองก็ไม่เคยราคาตกต่ำ
ราคาฟักทองยังอยู่ที่ 5-8 บาท/กก. มาตลอดหลายปี ชาวบ้านก็ยังมีกำไร
สำหรับ
การลงทุนปลูกฟักทองคุณนัยนาบอกว่า ปกติแล้ว พื้นที่ 1 ไร่จะลงทุน
10,000-15,000 บาท ขึ้นอยู่กับปุ๋ยและยาที่เกษตรกรใช้กัน
ฟักทองราคาดีชาวบ้านก็จะซื้อปุ๋ย-ยามาใส่ให้เยอะเพื่อบำรุงให้ฟักทองงาม
ให้ผลผลิตสูง โดยปกติผลผลิตประมาณ 5 ตัน/ไร่
ข้อมูลเพิ่มเติม คุณนัยนา เจริญภักดิ์ 263 ม. 13 ต.นากระแซง อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี โทร.089-6276855
ติดตามความรู้ด้านการเกษตรดีๆได้ที่ กลุ่มเกษตรก้าวใหม่ cr.Rakkaset Nungruethail
EMAIL:TAAJOOK@GMAIL.COM
การปลูกผักหวาน..ให้รวย.!!
แหล่งปลูกผักหวานป่าที่มีชื่อเสียงของเกษตรกรบ้านเรา ก็คือ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี ที่ นี่มีการปลูกผักหวานป่ากันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เรียกว่าปลูกกันหมู่บ้านเลยก็ว่าได้ แต่ละปีผักหวานป่าทำรายได้สู่ที่นี่นับร้อยล้านบาท วันนี้เราไม่ได้ไปดูผักหวานป่าที่บ้านหมอ แต่เราจะไปดูผักหวานป่า ที่ อ.พระพุทธบาท ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านหมอ เป็นสวนผักหวานเพียงแห่งเดียวของอำเภอ..
จ่าติ๊กทำสวนผักหวานมานานกว่า 23 ปีแล้ว โดยเริ่มสนใจและปลูกผักหวานเมื่อ ปี 2534 หลังจากที่ไปดูงานที่ บ้านหมอ จนกระทั่งปี 2547 จ่าติ๊กก็หันมาขยายพันธุ์ผักหวานด้วยกิ่งตอนซึ่งมีข้อดีกว่าการปลูกด้วย เมล็ดตรงที่ การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตเร็วกว่า ความสำเร็จมีมากกว่า โดยผักหวานที่ปลูกจากกิ่งตอนใช้เวลาประมาณ 2 ปี ก็ให้ผลผลิตแล้ว ส่วนผักหวานที่ปลูกจากเมล็ดต้องใช้เวลานานถึง 3 ปีเลยทีเดียว แต่การปลูกด้วยกิ่งตอนจะลงทุนสูงกว่าเนื่องจากกิ่งตอนราคาสูงกว่า โดยราคาอยู่ที่ 100 บาท ความสูง 50-80 ซม. ส่วนราคาต้นกล้าที่เพาะด้วยเมล็ด ราคาถุงละ 25 บาท 2 ต้น หรือเกษตรกรจะซื้อเมล็ดไปเพาะเองก็ได้ ราคาเมล็ด กก.ละ 300 บาท มี 120-130 เมล็ด
จ่าติ๊กแนะนำว่า การปลูกผักหวานกิ่งตอนจะปลูกทันทีหลังจากตัดตุ้มลงจากต้น จะทำให้การเจริญเติบโตเร็วกว่าการนำกิ่งตอนไปปักชำในถุงก่อนปลูก การตอนกิ่งผักหวานจะใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าผักหวานจะออกรากและนำไปปลูกได้ โดยผักหวานที่ตอนในช่วงฝนจะออกรากเร็ว 2-3 เดือนก็ออกแล้ว แต่ถ้าเป็นช่วงแล้งหรือช่วงหนาวจะออกรากช้า คือ 4-5 เดือน ข้อควรระวังในการตอนให้สำเร็จก็คือ ระวังอย่าให้ตุ้มกิ่งตอนแห้ง ต้องหมั่นรดน้ำตุ้มอยู่เสมอ ถ้าตุ้มกิ่งตอนแห้งก็จะไม่ออกราก
สำหรับปลูกและการดูแลผักหวานนั้นจ่าติ๊กบอกว่า การปลูกผักหวานจะรองก้นหลุมด้วยขี้วัว ผักหวานเป็นพืชที่รากไม่ลึก จึงไม่ต้องขุดหลุมปลูกให้ลึก ระยะปลูกที่แนะนำ 1.5 x 2 เมตร จะได้จำนวน 500 ต้นต่อไร่ และระยะ 2x2 เมตร จะได้ 400 ต้นต่อไร่ หลังปลูกต้องมีการให้น้ำเหมือนพืชทั่วไป เมื่อได้รับน้ำสม่ำเสมอผักหวานจะเจริญเติบโตเร็ว แตกยอดได้ดีในช่วงที่ต้องการให้ผักหวานออกยอด จ่าติ๊กจะให้ขี้วัวปีละ 2 ครั้ง และใส่ปุ๋ยเคมี 16-20-0 ปีละ 2 ครั้ง ที่ให้ปุ๋ยโปแตสเซียมน้อยก็เพราะจากการตรวจสภาพดินในพื้นที่พบว่าดินในเขต นี้มีโปแตสเซียมอยู่เยอะอยู่แล้ว
สำหรับการให้ผลผลิตของผักหวานนั้นจ่าติ๊กบอกว่า ถ้า
เป็นผักหวานกิ่งตอนจะให้ผลผลิตเร็ว โดยจะเก็บยอดได้ภายใน 2 ปีหลังปลูก
แต่ถ้าเป็นผักหวานเพาะเมล็ดจะให้ผลผลิตเกือบ 3 ปีเลยทีเดียวยอดจึงจะแตกเยอะ
การให้ผลผลิตของผักหวานขึ้นกับการดูแลและอายุของต้น
โดยปกติแล้วผักหวานอายุ 3 ปี จะให้ผลผลิต 1 ขีด/ต้น/ครั้งที่เก็บยอด อายุ
6-7 ปี จะให้ผลผลิตต่อต้นต่อครั้งที่เก็บ
เทคนิคการทำให้ผักหวานแตกยอดดีใน
ช่วงฝนซึ่งผักหวานเป็นพืชที่แปลก ช่วงหน้าร้อน หน้าหนาวผักหวานจะแตกยอดดี
โดยผักหวานจะแตกยอดเยอะในช่วงเดือน ม.ค.-เม.ย.
แต่พอได้รับน้ำมากๆในช่วงฝนผักหวานกลับไม่ค่อยแตกยอด
ดังนั้นหากต้องการเก็บผักหวานขายช่วงแพงก็ต้องทำให้เก็บยอดได้ช่วงฝน
ถ้าต้องการให้มียอดเก็บทั้งปีก็แบ่งเป็นแปลงย่อยๆก็ได้
โดยการหักกิ่งหรือตัดกิ่งลงมาจากยอดประมาณ 30-35 ซม. โดยหักกิ่งประมาณ
30-40 % ของต้น จากนั้นก็รูดใบออก รดน้ำใส่ปุ๋ยบำรุงต้นให้สมบูรณ์ ประมาณ 3
สัปดาห์หลังรูดใบ ผักหวานก็เก็บยอดได้ในช่วงฝนที่มีราคาแพง
สำหรับราคาผักหวานที่จำหน่ายกัน ถ้าเป็นช่วงหนาว ราคา 80 บาท/กก.
ถ้าเป็นช่วงฝนราคาจะขึ้นมาเป็น 120 บาท/กก. (หน้าสวน)
และราคาผักหวานป่าก็ยืนราคานี้มายาวนานหลายปี
บ่งบอกว่าตลาดผักหวานยังน่าสนใจ
อีกทั้งปริมาณความต้องการของตลาดก็เพิ่มขึ้น
ตลาดเติบโตมากขึ้นทั้งในเมืองและในท้องถิ่น
ติดต่อ จ่าติ๊ก ได้ที่โทร. 086-1246596
ติดต่อ จ่าติ๊ก ได้ที่โทร. 086-1246596
cr. Rakkaset Nungruethail รักษ์เกษตร
Email:taajook@gmail.com
การปลูก..ขมิ้นชัน ได้หลักแสน.!!
ขมิ้นชันพื้นที่ 1 ไร่ จะให้ผลผลิตสดประมาณ 3,000 กิโลกรัม ราคาเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 40 บาท (อ้างอิงราคาจากตลาดสี่มุมเมือง) ดังนั้นรายได้ต่อไรสูงถึง 120,000 บาทเลยทีเดียว (ยังไม่หักค่าพันธุ์และค่าใช้จ่ายระหว่างดูแลอื่นๆ) ขมิ้นชันสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เมื่ออายุ 9-11 เดือน แต่ควรหลีกเลี่ยงการเก็บในระยะที่ขมิ้นชันเริ่มแตกหน่อน เพราะจะทำให้สารเคอร์คิวมินต่ำ
ขมิ้นชันเป็นพืชจำพวกล้มลุก อายุหลายปี ส่วนที่เรานำมาใช้คือส่วนที่เรียกว่า เหง้า เป็นส่วนของลำต้นใต้ดิน ซึ่งเหง้าจะประกอบไปด้วย แง่งแม่หรือแง่งหลัก และจะแตกแขนงแง่งที่ 2 และ 3 ต่อไป ลำต้นที่อยู่เหนือดินจะสูประมาณ 30-90 เซนติเมตร มีกาบใบซ้อนกันเป็นชั้นๆ ใบยาวรี ปลายแหลม ดอกออกเป็นช่อสีขาวอมเหลือง ก้านช่อดอกจะแทงขึ้นมาจากเหง้าโดยตรง..
การปลูกขมิ้นชัน
1. เริ่มต้นควรมีการไถพรวนพื้นที่ที่จะปลูกเพื่อให้ร่วนซุยและตากดินไว้ 1-2 สัปดาห์ ทำดินเป็นแบบยกร่องเพื่อการระบายน้ำที่ดี โดยยกร่องกว้างประมาณ 50-60 เซนติเมตร สูงประมาณ 25 เซนติเมตร ระยะในการปลูก 15×15 เซนติเมตร
2. เลือกหัวพันธุ์ชมิ้นชันที่มีอายุในช่วง 7-9 เดือน มีตาสมบูรณ์ พันธุ์แข็งแรง ไม่มีโรคและแมลง แบ่งหัวพันธุ์ดดยหั่นให้แต่ละเหง้ามีตาอย่างน้อย 3-5 ตาหรือแง่ง น้ำหนักประมาณ 15-50 กรัม
3. นำท่อนพันธุ์แช่สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง 1-2 ชั่วโมง จากนั้้นนำท่อนพันธุ์มาชุบด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อราก่อนปลูก
4. หลุมที่จะปลูก ควรลองด้วยปุ่ยคอกก้นหลุม หลุมละ 200 กรัม นำหัวพันธุ์ที่เตรียมไว้ปลูกลึก 5-7 เซนติเมตร คลุมด้วยฟางหรือหญ้าคาขนาดประมาณ 2 นิ้ว จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม
การดูแลรักษา
ขมิ้นชันเป็นพืชที่ชอบอากาศร้อนชื้น ชอบดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี ไม่ชอบดินเหนียวและดินลูกรัง และต้องการความชุ่มชื้นสูง สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่กลางแจ้ง
การดูแล ต้องหมั่นคอยกลบโคนต้นอยู่เสมอเพื่อให้เหง้าเจริญเติบโตดี มีร่มเงาและมีความชื้นเพียงพอ ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ถ้าใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ต้องระมัดระวังอย่าให้ปุ่ยสัมผัสกับลำต้นใต้ดินและลำ ต้นเหนือดิน
การเก็บเกี่ยว
สามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่อขมิ้นชันมีอายุ 9-11 เดือน หลีกเลี่ยงเก็บในระยะที่ขมิ้นชันเริ่มแตกหน่อ เพราะสารเคอร์คิวมินจะต่ำ ก่อนเก็บเกี่ยวต้องปล่อยให้ดินแห้งหมาดๆ แล้วจึงขุด
การขุดระวังไม่ให้จอบโดนเหง้า เสร็จแล้วเคาะเอาดินออกจากหัว ตัดใบและรากทิ้ง ลากน้ำให้สะอาด จะได้ขมิ้นชันสด
การทำให้แห้ง ทำโดยล้างให้สะอาดแล้วหั่นเป็นแผ่นหน้าประมาณ 1-2 มิลลิเมตร นำไปตากให้แห้ง หรืออีกวิธีคือนำไปต้มก่อนแล้วนำมาหั่นเป็นชิ้นๆ ตากแห้ง จะได้ขมิ้นชันแห้งที่มีลักษณะตึงสวยและเก็บได้นาน
ชมิ้นชันสด 6 กิโลกรัมจะได้ขมิ้นชันแห้ง 1 กิโลกรัม
ที่มาของข้อมูล : กรมส่งเสริมการเกษตร
Email:taajook@gmail.com
การปลูกตะไคร้..เงินแสน.!!
ตะไคร้เป็น พืชพื้นบ้านที่มีประโยชน์หลายอย่าง ได้ทั้งทำอาหาร เครื่องดื่มเป็นยารักษาโรค และไล่แมลง ตะไคร้เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ปัจจุบันตะไคร้ในตลาดยังไม่เพียงพอที่จะป้อนเข้าโรงงาน และในตลาดสดตะไคร้ก็ยังเป็นที่ต้องการของแม่บ้าน และผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ อยู่
การลงทุนปลูกตะไคร้
การ ปลูกตะไคร้ไม่ต้องลงทุนมาก ตอนแรกลงทุนต้นพันธุ์ตะไคร้โดยต้นพันธุ์สามารถซื้อตะไคร้ที่เขาขายตามตลาดมา ก็ได้ นำมาแช่น้ำให้รากออก (ใช้เวลาประมาณ 3 วัน) แล้วนำลงปลูก ไม่ต้องลงทุนเพิ่มอีกเพราะสามารถตัดได้ตลอด
เทคนิคการปลูกตะไคร้
- การเตรียมดิน ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย ให้ไถพลิกดินและไถพรวนลึกประมาณ 0.5 เมตร แล้วทำหลุม แต่ละหลุมห่างกันประมาณ 0.5 เมตร
- ลงต้นพันธุ์หลุมละ 3 ต้น กลบดินพอมิดรากตะไคร้สัก 10 เซนติเมตร
- ปลูก ใหม่ให้รดน้ำทุกวัน แต่ระวังอย่าให้น้ำเข้าไส้ตะไคร้เวลาลดให้ลดทีโคนต้นตะไคร้เท่านั้น มิฉะนั้นต้นตะไคร้จะเน่าห้ามใช้สปริงเกอร์เป็นอันขาด ให้น้ำที่โคนกกเท่านั้น
- ในช่วง 3 วันแรกที่ปลูกให้พลางแสงแดดให้ตะไคร้ด้วยมู่ลี่ จากนั้นก็เอาออกซะเพราะตะไคร้ปรับตัวได้แล้วและธรรมชาติของตะไคร้ชอบแดด เจริญเติบโตได้เพราะมีแสงจ้า
- เมื่อผ่านไป 1 เดือนตะไคร้จะเริ่มตั้งกอ ให้สักเกตที่ต้น ถ้าต้นเจริญเติบโตดี (ลำต้นที่ใช้ได้สามารถตัดไปขายได้เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร) ตัดตะไคร้ให้ติดกก แต่อย่าให้สะเทือนรากที่อยู่ในดินเพราะตะไคร้สามารถแตกขึ้นมาตั้งกอได้อีก หลังตัดไม่ต้องหาต้นพันธุ์มาปลูกใหม่
- เมื่อตัดควรตัดให้หมดกอ เพื่อต้นตะไคร้ที่แตกใหม่จะได้เติบโตได้เต็มที่
- หลัง จากตัดแล้วตะไคร้จะตั้งกอใหม่ภายในเวลา 1-2 เดือนเมื่อตะไคร้โตเต็มที่แล้วก็สามารถตัดได้อีกเรื่อยไปจนกว่าต้นจะโทรม หรือ ตะไคร้ไม่แตกขึ้นมาอีก
การตกแต่งตะไคร้เพื่อส่งขาย..
ตะไคร้เมื่อ ตัดมาแล้วใบจะยาวและมีก้านสีน้ำตาลแห้ง ๆ ติดมาด้วยให้ตัดก้านใบที่แห้งออกให้หมด รวมถึงต้องลอกก้านใบที่อ้าออกมาด้วยให้เหลือแต่ต้นกลม ๆ ใบก็ตัดออกครึ่งหนึ่งถ้าตัดแล้วยังไม่ขายสามารถแช่น้ำไว้ได้โดยตั้งต้น ตะไคร้ให้ตรงในภาชนะทรงกระบอก ใส่น้ำพอท่วมกกตะไคร้ตะไคร้จะอยู่ได้ประมาณ 1-2 วันแล้วจึจะแตกราก ถ้าแตกรากแล้วขายไม่ได้ เก็บไว้ทำพันธุ์ขยายปลูกต่อไป
ปลูกตะไคร้ขายดีอย่างไร?
- ตะไคร้เป็นพืชโตเร็ว เพียงแค่ 1-2 เดือนก็สามารถตัดขายได้แล้ว
- ขยายพันธุ์ง่าย ซื้อต้นพันธุ์แค่ครั้งแรก สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดไป
- ตะไคร้เป็นพืชที่มีโรคน้อย ศัตรูพืชก็ไม่มี จึงไม่ต้องกังวลเรื่องดูแล เพียงแค่ดูแลวัชพืชที่แปลงปลูกเล็กน้อย
- เป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี ให้น้ำ 2 วันครั้งก็ได้
สามารถคำนวณระยะเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อให้ได้ราคาได้จากบทความ..
ใครที่สนใจปลูกตะไคร้ เพื่อจำหน่าย ยังหาแหล่งรองรับไม่ได้ ได้รวบรวมผู้ที่รับซื้อตะไคร้มาให้พิจารณากัน
ลองติดต่อสอบถาม พูดคุยกันดูนะคะ/
• รับซื้อตะไคร้โคราช และจังหวัดไกล้เคียง รับซื้อตลอดปี รับถึงไร่ สัปดาห์ละ 500 – 1000 กิโลกรัม สนใจติดต่อ 093-3287209 คุณวีครับ
• รับซื้อตะไคร้ โทรติดต่อ 088-840-6163 หรืออีเมล์ boyby007@gmail.com
• รับซื้อตะไคร้แถบภาคเหนือ รับซื้อข่าตาแดงแก่หรืออ่อน สนใจโทรถามได้ 081-8763387
• ต้องการรับซื้อตะไคร้ ขอที่ 1 ตันความยาวต้นประมาณ 1 ศอกไม่เอาใบ สนใจโทร 082-3645351 คุณแจ๊ด
• รับซื้อตะไคร้ รับตลอดและยินดีไปรับถึงที่ครับแถบภาคอีสาน หรือจะปลูกเพื่อหาตลาดรองรับในอนาคต สอบถามรายละเอียดได้ที่ 081-8763387 คุณเชียร ไลน์ chian102536
• รับซื้อตะไคร้สด ใบมะกรูดสด ข่าสด หรือแห้ง จำนวนมาก อยู่ จ.พิษณุโลกค่ะ สนใจติดต่อ สาวิตรี 092-1940842 ค่ะ
• รับซื้อตะไคร้ จำนวนมาก ติดต่อ 084-6658420 คุณวิภา หนองจอก คลอง 12
• ตอนนี้ต้องการรับซื้อ ตะไคร้จำนวนมาก ไม่จำกัดจำนวน ตลอดปี ในราคารับประกัน
รายละเอียดสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 081-375-6831 , 086-799-3603 คุณเปี่ยมบุญ
• รับชื้อข่าอ่อน/ข่าแก่/ตะไคร้/ลูกมะกรูด สนใจติดต่อสอบถาม 061-4860419 เราทำโรงงานน้ำพริกชื้อทุกวัน
เจ้าไหนไม่รับซื้อแล้ว คอมเม้นต์ไว้อัพเดทให้เพื่อนๆ คนอื่นๆ ทราบกันด้วยนะคะ..
Email:taajook@gmail.com
เครดิต: เกษตรพอเพียง
ป้ายกำกับ:
การปลูก,
การปลูกตะไคร้,
ขายตะไคร้,
ซื้อตะไคร้,
ตะไคร้
การปลูกมะละกอ ส่งป้อนตลาดวันละ 20 ตัน.!!
ปลูกมะละกอ ส่งมะละกอป้อนตลาดวันละ 20 ตัน.!! พันธ์..ฮอลแลนด์
ถ้าถามถึงแหล่งปลูกมะละกอแหล่ง ใหญ่ของภาคเหนือตอนล่างแล้วล่ะก็เชื่อแน่ว่า จ.สุโขทัยคืออันดับหนึ่งอย่างแน่นอนโดยเฉพาะ อ.ศรีสัชนาลัยที่นี่คือแหล่งปลูกมะละกอแหล่งใหญ่และเก่าแก่แห่งหนึ่งของบ้าน เราและด้วยศักยภาพที่เหนือกว่าในแทบทุกด้านของมะละกอเมื่อเทียบกับพืชดั่ง เดิมที่ชาวบ้านทำกันมาค่อนชีวิต มะละกอคือพืชที่สร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มะละกอคือพืชที่สร้างฐานะความร่ำรวยให้กับพวกเขา และไม่ว่าจะล้มเหลวหรือสำเร็จสักกี่ครั้งพวกเขาก็จะกลับมาปลูกมะละกอและ ต่อสู้กับมะละกออยู่วันยังค่ำนั่นเพราะพืชชนิดนี้เคยสร้างรายได้อย่างที่พวก เขาไม่เคยได้รับจากพืชชนิดอื่นเลย..
ถ้าถามถึงแหล่งปลูกมะละกอแหล่ง ใหญ่ของภาคเหนือตอนล่างแล้วล่ะก็เชื่อแน่ว่า จ.สุโขทัยคืออันดับหนึ่งอย่างแน่นอนโดยเฉพาะ อ.ศรีสัชนาลัยที่นี่คือแหล่งปลูกมะละกอแหล่งใหญ่และเก่าแก่แห่งหนึ่งของบ้าน เราและด้วยศักยภาพที่เหนือกว่าในแทบทุกด้านของมะละกอเมื่อเทียบกับพืชดั่ง เดิมที่ชาวบ้านทำกันมาค่อนชีวิต มะละกอคือพืชที่สร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มะละกอคือพืชที่สร้างฐานะความร่ำรวยให้กับพวกเขา และไม่ว่าจะล้มเหลวหรือสำเร็จสักกี่ครั้งพวกเขาก็จะกลับมาปลูกมะละกอและ ต่อสู้กับมะละกออยู่วันยังค่ำนั่นเพราะพืชชนิดนี้เคยสร้างรายได้อย่างที่พวก เขาไม่เคยได้รับจากพืชชนิดอื่นเลย..
ผู้
ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นผู้ที่บุกเบิกและทำให้อ.ศรีสัชนาลัยกลายเป็นแหล่งปลูก
มะละกอแหล่งใหญ่ที่วงการรู้จักกันดีก็คือ คุณธีระ
วัฒนะอุดมวงศ์หรือเฮียแบงค์และวันนี้เฮียแบงค์คือผู้ปลูกมะละกอรายใหญ่ของ
ที่นี่ในนาม ไร่อริศ ที่พ่อค้ารับซื้อในทุกตลาดรู้จักกันเป็นอย่างดี
ด้วยพื้นที่ปลูกมากถึง 100 ไร่
ไม่เพียงเท่านั้นเฮียแบงค์ยังส่งเสริมลูกไร่ปลูกเพื่อรับซื้อผลผลิตมะละกอ
ป้อนสู่ตลาดต่างๆพื้นที่รวมไม่ต่ำกว่า 300
ไร่หมุนเวียนเพื่อให้มีผลผลิตป้อนตลาดเกือบตลอดทั้งปี
โดยมีผลผลิตออกจากพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 20 ตันต่อวัน
และวันที่มีผลผลิตมากที่สุดเขาเคยเก็บมะละกอออกถึง 30 ตัน
ไม่
น่าเชื่อว่ากระแสมะละกอฮอลแลนด์ฟีเวอร์ของ
อ.ศรีสัชนาลัยที่คาดว่าน่าจะมีพื้นที่ปลูกไม่ต่ำกว่า 1,000 ไร่
ในวันนี้จะเริ่มต้นจากมะละกอเพียง 13 ไร่ของเฮียแบงค์
นักธุรกิจจากเมืองหลวงที่ล้มเหลวจากธุรกิจส่งออกผักผลไม้
ทำให้เขาตัดสินใจกลับไปเริ่มต้นที่บ้านเกิดของเขาเอง 13
ไร่กับการปลูกมะละกอครั้งแรกในชีวิต เขาได้เงินมาเกือบ 2 ล้านบาท
เม็ดเงินก้อนนี้เองที่ทำให้เฮียแบงค์ขยายพื้นที่อย่างบ้าระห่ำท่ามกลาง
การจับตามองของชาวบ้านที่บอกว่า "เขาบ้า"
ปลูกมะละกอเยอะแยะขนาดนี้จะเอาไปขายที่ไหน เขาไม่ใช่แค่ บ้า
ปลูกเองเฮียแบงค์ยังประกาศรับสมัครลูกไร่เพื่อปลูกมะละกอส่งขายให้กับเขาอีก
ด้วย พืชใหม่ในพื้นที่เริ่มก่อตัวขึ้นทีละเล็กทีละน้อย
เฮียแบงค์ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มทุกปี
ขณะที่ลูกไร่ก็เพิ่มจำนวนขึ้นทุกปีจากความสำเร็จของคนที่ปลูกก่อนหน้าแต่ละ
คนต่างมีรายได้มากมายจากการปลูกมะละกอ
สร้างแรงบันดาลใจให้ชาวบ้านหันมาปลูกมะละกอกันมากขึ้นเรื่อยๆจนทำให้ศรีสัช
นาลัย กลายเป็นแหล่งปลูกมะละกอแหล่งใหญ่อันดับต้นๆของประเทศในวันนี้
สิ่ง
หนึ่งที่ทำให้ แบงค์ ประสบความสำเร็จ ก็คือ
เขาใส่ใจและทุ่มเทอย่างมากกับมะละกอ
เพราะเขารู้ว่าเขาจะได้เม็ดเงินคืนกลับมาอย่างมากมายยิ่งกว่าทุนที่เขาใส่ลง
ไปหลายเท่าตัว มะละกอสวนเฮียแบงค์ติดดกเต็มคอ ขนาดลูกสม่ำเสมอ รูปทรงสวย
รสชาติหวาน ขณะที่ชาวบ้านบางคนยังไม่เข้าใจในจุดนี้และไม่กล้าลงทุน
จึงทำให้ผลผลิตออกมาไม่ดีเท่าที่ควรและหลายคนล้มเหลวจากอาชีพนี้เฮียแบงค์
บอกว่ามะละกอไม่ใช่พืชที่ลงทุนสูงเลย
เขาบอกว่าต้นทุนมะละกอตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเริ่มเก็บน่าจะอยู่ประมาณไร่ละ
15,000-20,000 บาท เป็นค่าระบบน้ำมินิสปริงเกลอร์ประมาณ 3,000
บาทที่เหลือเป็น ค่าเตรียมแปลง ค่าปุ๋ยสารเคมี ค่าแรงและอื่นๆ
มะละกอจะหนักค่าแรงโดยเฉพาะเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วต้องใช้แรงงานจำนวนมากเฮีย
แบงค์มีคนงานมากกว่า 30 คนทั้งทำงานในสวนคัดมะละกอ
ในจุดรับซื้อซึ่งจะต้องมีมะละกอเก็บทุกวันๆละ 20 ตัน(5-6 คันรถปิ๊กอัพ)
เมื่อ
ถามถึงเทคนิคการดูแลมะละกอให้ติดดกรูปทรงสวยรสชาติหวานเกรดเอเฮียแบงค์
บอกว่าอยู่ที่การใส่ปุ๋ยและดูแลเรื่องศัตรูให้อยู่หมัดปุ๋ยในช่วง 1-2
เดือนแรกเฮียแบงค์ใช้สูตรเสมออายุ 3-4 เดือนเปลี่ยนมาใช้สูตร 8-24-24
เพื่อเร่งดอกหลังจากนั้นจะใช้ 8-24-24 สลับกับ 16-16-16
เพื่อบำรุงทั้งดอกและผล อายุ 7 เดือนเพิ่มความหวานโดยใช้ 13-13-21
มาสลับด้วย
ปริมาณปุ๋ยจะเพิ่มให้ตามอายุของต้นโดยต้นที่ให้ผลผลิตแล้วก็จะให้ปุ๋ยไร่ละ 1
กระสอบต่อครั้ง ให้ปุ๋ยเดือนละ 2
ครั้งและจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์เป็นช่วงๆอย่างต่อเนื่องทางใบก็จะให้ธาตุอาหาร
เสริมแคลเซียม-โบรอนเป็นประจำจะทำให้มะละกอออกดอกติดผลต่อเนื่องติดดกคุณภาพ
ผลดี
ส่วน
ของศัตรูร้ายของมะละกอคือโรคไวรัสจุดวงแหวนเฮียแบงค์บอกว่าเขาปลูกมะละกอซ้ำ
ที่มาโดยตลอดแต่ก็มีปัญหาน้อยมากเฮียแบงค์มีวิธีการจัดการด้วยการพ่น
สารป้องกันไวรัส เซล่ามูน+3 อย่างต่อเนื่องทุก 10 วัน
ขณะที่ชาวบ้านหลายคนที่ปลูกแล้วล้มเหลวเพราะจัดการไวรัสไม่ได้และไม่รอดจาก
ไวรัสเช่นเดียวกับพื้นที่ปลูกมะละกอในแหล่งอื่นๆเฮียแบงค์บอกว่า
"ถ้าเอาไวรัสอยู่คุณก็รอดแล้ว"
แม้
วันนี้ราคามะละกอไม่จูงใจเมื่อเทียบกับหลายปีที่ผ่านมาจากปัญหาเศรษฐกิจทำ
ให้มะละกอที่เคยขายราคา 12-15 บาท/กก.(หน้าสวน) ในปีที่ผ่านๆมาลดลงมาเหลือ
8-10
บาท/กก.(หน้าสวน)ในปีนี้ก็ทำให้ชาวสวนจำนวนไม่น้อยที่เคยเห็นเม็ดเงินก้อน
ใหญ่จากมะละกอถอดใจไปบ้างเหมือนกันเพราะวิกฤติราคามะละกอปีนี้นับว่าไม่เคย
เกิดขึ้นเลยในรอบ 10 ปีมานี้ราคามะละกอดีต่อเนื่องมาตลอด
แต่ถึงกระนั้นมะละกอก็ยังคันรถละ(3-4 ตัน) 25,000-30,000 หมื่นบาท
ขณะที่มะละกอเก็บผลผลิตทุก 3-4 วันหรือสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
บอกได้เลยว่าชาวสวนยังมีรายได้มากมายเมื่อเทียบกับการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายใน
การดูแลมะละกอ แต่ที่บ่นกันทุกรายก็เพราะเคยได้ราคาสูงไงค่ะ (มะละกอ 10 ไร่
จะเก็บผลผลิตได้ประมาณ 3 ตันต่อครั้งค่ะ)
เฮีย
แบงค์บอกว่าเขาปลูกมะละกอมาเกือบ 10
ปีจนถึงวันนี้เขาก็ยังมองไม่เห็นว่ามีพืชไหนที่ทำเงินได้ดีเท่ามะละกอหากชาว
สวนสามารถผลิตมะละกอคุณภาพหมายถึงผลบนต้นมีแต่เกรดเอมะละกอก็ยังให้ผลตอบแทน
ที่ดีแต่ชาวสวนมะละกอในระดับชาวบ้านยังมองไม่เห็นความสำคัญในจุดนี้และยัง
ไม่กล้าลงทุนจึงทำให้พวกเขาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรแต่สำหรับเฮียแบงค์
แล้วเขาบอกว่าเขาเกิดจากมะละกอและเขาก็จะยืนหยัดปลูกมะละกอต่อไปยังไม่รู้
ว่าจะหยุดเมื่อไหร่
เครดิต :Rakkaset Nungruethail รักษ์เกษตร
Email:taajook@gmail.com
วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558
เทคนิคการทำมะนาวนอกฤดูในวงบ่อ .!!
คุ
เทคนิคการทำมะนาวนอกฤดูในวงบ่อ ของสวนมะนาวแป้น ท้ายไร่ ที่พิจิตร..
วงจร
ของราคามะนาวไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลงโดยราคามะนาวจะเริ่มแพง
ตั้งแต่เดือนมกราคมและจะสูงขึ้นเรื่อยๆ สูงสุดในเดือนเมษายน
หลังจากนั้นราคามะนาวก็จะถูกลงเรื่อยๆ ทุกคนที่ทำสวนมะนาวหรือคิดจะทำสวนมะนาวต่าง
ก็ทราบข้อมูลนี้กันเป็นอย่างดี
แต่ด้วยความที่การทำมะนาวนอกฤดูมีองค์ประกอบของความสำเร็จอยู่หลายประการ
จึงทำให้คนที่ไขว่ขว้าความสำเร็จนี้ได้ยังถือว่ามีอยู่เป็นจำนวนไม่มากนัก
หากเทียบกับคนที่อยากสำเร็จ
และเทคนิคหนึ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการทำมะนาวนอกฤดูก็คือ
การปลูกมะนาวลงวงบ่อซีเมนต์ที่สามารถควบคุมน้ำอันเป็นปัจจัยสำคัญของการทำ
มะนาวนอกฤดูได้ง่ายกว่าการปลูกมะนาวลงดิน
จึงทำให้เทคโนโลยีนี้มีการนำมาใช้กันมากขึ้นในกลุ่มผู้ปลูกมะนาว
วันนี้เราจะพาไปดูเทคนิคการทำมะนาวนอกฤดูของคุณนิพนธ์ พรหมรักษ์ เจ้าของสวนมะนาวแป้น
ท้ายไร่ ที่เชื่อว่า
วันนี้ชื่อของเขาคงจะเป็นที่รู้จักกันดีของกลุ่มคนที่ทำสวนมะนาวหรือคนที่
คิดจะทำสวนมะนาว
คุณนิพนธ์นับเป็นอีกคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จกับการทำนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์
และเขาก็ยินดีที่จะถ่ายทอดประสบการณ์แห่งความสำเร็จนี้ด้วยความเต็มใจอย่าง
ไม่หวงวิชาแต่อย่างใด
เรารู้จักคุณนิพนธ์จาก เว็บไซต์ สวนมะนาวแป้น
ท้ายไร่ ที่คุณนิพนธ์ทำขึ้นมา
ในเว็บไซต์ของเขาเต็มไปด้วยข้อมูลและเรื่องราวของมะนาวที่บ่งบอกถึงความ
ตั้งใจของคนทำได้เป็นอย่างดี สอบถามจึงทราบว่า
การทำเว็บไซต์นั้นเป็นธุรกิจหลักของเขา
ส่วนการทำสวนมะนาวเป็นความฝันที่เขาทำให้มันเป็นจริงในวันที่ธุรกิจหลักเขา
อยู่ตัวแล้ว วันนี้คุณนิพนธ์บริหารงานผ่านเทคโนโลยีทันสมัยในรูปแบบต่างๆ
ขณะที่ตัวเขาเองปักหลักและทุ่มเทอยู่กับสวนมะนาวแป้นมะนาวท้ายไร่ ที่
อ.สามง่าม จ.พิจิตร
คุณ
นิพนธ์ บอกว่า ก่อนจะมาทำสวนมะนาวนั้นเขาศึกษาข้อมูลมะนาวมาไม่น้อยทีเดียว
แถมยังตระเวณดูสวนมะนาวในแหล่งปลูกมะนาวหลายพื้นที่
เรียกว่าพกอาวุธทางความรู้ไว้พร้อมก่อนที่จะลงมือจริง
และนี่เองคือความได้เปรียบที่ทำให้เขาก้าวไปสู่ความสำเร็จได้ค่อนข้างเร็ว
ปลูกมะนาวพันธุ์ไหนดี
คุณนิพนธ์กล่าวว่าพื้นฐานสำคัญของการเริ่มต้นทำสวนมะนาวก็
คือการเลือกพันธุ์ เขาแนะนำแป้นรำไพกับแป้นพวง
ด้วยจุดเด่นของแป้นรำไพที่เป็นมะนาวผลโต เปลือกบาง ตลาดมีความต้องการสูง
ส่วนแป้นพวงผลเล็กหน่อย แต่ก็ออกดอกง่าย แป้นพิจิตร 1 แม้จะทนโรค
แต่ราคากิ่งพันธุ์สูง และมีจุดด้อยตรงที่แกนใหญ่ เปลือกหนา เมล็ดเยอะ
ตลาดแคบ
เทคนิคการเพิ่มความสมบูรณ์ให้แก่มะนาวปลูกใหม่ในปีแรก
สำหรับ
มะนาวที่ปลูกลงดินนั้น ระยะปลูกที่เหมาะสมคุณนิพนธ์แนะนำ 5-6 เมตร 1 ไร่
ปลูกได้ประมาณ 55 ต้น ส่วนมะนาวลงบ่อ ใช้ระยะปลูก 3x3 เมตร 1 ไร่ประมาณ
150-170 ต้น เพราะมะนาวในวงบ่อขนาดต้นจะไม่ใหญ่ ปลูกถี่ได้
ขนาดของวงบ่อที่ใช้ เส้นผ่าศูนย์กลาง 80 ซม. สูง 40 ซม.
วงบ่อเป็นฝากับตัววงบ่อแยกจากกัน ตอนปลูกก็เพียงแต่เอาวงบ่อวางลงบนฝา
เพื่อให้น้ำสามารถระบายออกได้ทางรอยต่อของบ่อกับฝา ราคาวงบ่อ 1 ชุด ประมาณ
180 บาท
ต้นมะนาวที่ปลูกใหม่นั้นไม่ว่าจะปลูกลงดินหรือปลูกในบ่อซีเมนต์ การดูแลเริ่มต้นให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 จำนวน 1 กก.ละลายเข้าน้ำจำนวน 10 ลิตร ราดรอบๆ ต้นมะนาวโดยราดห่างจากโคนต้นประมาณ 1 คืบ โดยใช้แค่ 1 แก้วต่อต้นเท่านั้น ทำเช่นนี้มะนาวไปจนถึงอายุ 1 ปี โดยราดรดทุกๆ 20 วัน เมื่อมะนาวแตกกิ่งเป็นกิ่งกระโดงลักษณะใบพอเป็นเพสลาด ให้ทำการตัดยอดของกิ่งนั้นออกโดยตัดลงมาประมาณ 2 นิ้ว เมื่อกิ่งที่ตัดแก่ดีแล้วมันจะแตกยอดออกมาอีก 2-3 ยอดจากที่กิ่งที่โดนตัดออกไป และหากกิ่งที่ออกมาใกล้พื้นดินมากๆ ให้ตัดทิ้งเพื่อให้รูปทรงของต้นมะนาวเมื่อโตขึ้นจะมีทรงพุ่มที่สวยงาม และง่ายต่อการเข้าไปปฏิบัติงานต่างๆ วิธีนี้มะนาวจะโตเร็วทรงพุ่มสวยงาม แข็งแรงสมบูรณ์มากๆและพร้อมที่จะให้ผลผลิตได้เป็นที่พอใจ และอย่าลืมดูแลศัตรูพืชของมะนาวด้วยโดยเฉพาะ หนอนชอนใบ เพลี้ยไฟหรืออื่นๆรับรองต้นมะนาวจะสมบูรณ์มากๆ และไม่ต้องไปกลัวมะนาวเผือใบหรือมะนาวบ้าใบ เพราะว่าเราทำช่วงปีแรกเท่านั้นเพื่อให้ต้นมะนาวสมบูรณ์ที่สุด
ต้นมะนาวที่ปลูกใหม่นั้นไม่ว่าจะปลูกลงดินหรือปลูกในบ่อซีเมนต์ การดูแลเริ่มต้นให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 จำนวน 1 กก.ละลายเข้าน้ำจำนวน 10 ลิตร ราดรอบๆ ต้นมะนาวโดยราดห่างจากโคนต้นประมาณ 1 คืบ โดยใช้แค่ 1 แก้วต่อต้นเท่านั้น ทำเช่นนี้มะนาวไปจนถึงอายุ 1 ปี โดยราดรดทุกๆ 20 วัน เมื่อมะนาวแตกกิ่งเป็นกิ่งกระโดงลักษณะใบพอเป็นเพสลาด ให้ทำการตัดยอดของกิ่งนั้นออกโดยตัดลงมาประมาณ 2 นิ้ว เมื่อกิ่งที่ตัดแก่ดีแล้วมันจะแตกยอดออกมาอีก 2-3 ยอดจากที่กิ่งที่โดนตัดออกไป และหากกิ่งที่ออกมาใกล้พื้นดินมากๆ ให้ตัดทิ้งเพื่อให้รูปทรงของต้นมะนาวเมื่อโตขึ้นจะมีทรงพุ่มที่สวยงาม และง่ายต่อการเข้าไปปฏิบัติงานต่างๆ วิธีนี้มะนาวจะโตเร็วทรงพุ่มสวยงาม แข็งแรงสมบูรณ์มากๆและพร้อมที่จะให้ผลผลิตได้เป็นที่พอใจ และอย่าลืมดูแลศัตรูพืชของมะนาวด้วยโดยเฉพาะ หนอนชอนใบ เพลี้ยไฟหรืออื่นๆรับรองต้นมะนาวจะสมบูรณ์มากๆ และไม่ต้องไปกลัวมะนาวเผือใบหรือมะนาวบ้าใบ เพราะว่าเราทำช่วงปีแรกเท่านั้นเพื่อให้ต้นมะนาวสมบูรณ์ที่สุด
เทคนิคการทำให้มะนาวออกดอกและติดผลช่วงนอกฤดู
โดย
ทั่วไปมะนาวหลังจากปลูกไปแล้วประมาณ 8 เดือนมะนาวก็จะเริ่มออกดอกบ้างแล้ว
แต่หลายคนปล่อยให้มีลูกเลย
วิธีนี้ไม่ถูกต้องจริงๆแล้วควรจะเด็ดทิ้งเสียให้หมดรอจนกว่ามะนาวอายุ 1 ปี 3
เดือน ขึ้นไปแล้วปล่อยให้มีลูก
เพราว่าสภาพของต้นยังไม่พร้อมมีลูกควรรอให้พร้อมสมบูรณ์แล้วค่อยปล่อยหาก
ปล่อยให้มีลูกก่อน จะมีผลกระทบในระยะยาวเช่นอายุของต้นโทรมเร็ว
ผลผลิตไม่เต็มที่
สำหรับมะนาวที่ให้ผลผลิตแล้ว หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จะมีมะนาวส่วนที่ยังติดต้นยังไม่ต้องเอาออกให้คงไว้แบบนั้นหรือเก็บเกี่ยวไป เรื่อยๆ ช่วงนี้มะนาวอย่าให้ขาดน้ำเป็นเด็ดขาดโดยให้น้ำทุกวัน สำหรับมะนาวที่ปลูกในวงบ่อซีเมนต์เติมดินที่ผสมปุ๋ยคอกลงไปให้เต็มวงด้วย จากนั้นบำรุงโดยให้ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 ต้นละ 3 กำมือ และสลับกับการให้ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 (ใส่ห่างจากโคนต้น) ทุก 25 วัน ช่วงนี้ต้องรักษายอดมะนาวที่ออกใหม่ อย่าให้เพลี้ยไฟหรือหนอนชอนใบมาทำลายยอดอ่อนมะนาวได้ ดอกที่ออกมาช่วงพฤษภาคม-มิถุนายนให้ปลิดทิ้งตลอด
ช่วงเดือนกรกฏาคม ต้นมะนาวจะสมบูรณ์สุดๆ ช่วงนี้ให้งดให้ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 แต่ยังคงให้ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 เหมือนเดิมแต่ให้ถี่ขึ้นคือ 20 วันต่อครั้ง โดยลดจำนวนลงเหลือ 2 กำมือ ส่วนน้ำยังคงให้สม่ำเสมอเช่นเดิมแต่หากฝนตกก็ควรงดน้ำ เพราะช่วงนี้เข้าหน้าฝนแล้ว เมื่อถึงปลายเดือนกรกฏาคม ให้ตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มออก ประมาณ 30% ลูกที่ติดอยู่บนต้นทั้งหมดเอาออก หากมีดอกก็ให้ปลิดทิ้งให้ต้นมะนาวว่าง
ช่วงเดือนสิงหาคม-เดือนกันยายน ช่วงนี้มะนาวจะแตกยอดอ่อนมามาก บางส่วนที่ไม่ได้ตัดแต่งกิ่งก็จะมีดอกออกมาบ้างก็ให้ทำการเด็ดทิ้งเช่นเดิม และเน้นพ่นยาเพื่อรักษายอดอ่อนให้ดี สำหรับเดือนนี้ทั้งเดือนให้ลด การให้ปุ๋ยเคมี 25-7-7 เหลือต้นละ 1 กำมือแต่น้ำยังคงให้ตามปกติ
ช่วงเดือนตุลาคม ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 ต้นละ 3 กำมือ จำนวน 2 ครั้ง โดยห่างกัน 20 วัน หลังจากนั้นจะสังเกตเห็นว่ามะนาวจะออกดอกมาเรื่อยๆซึ่งดอกที่ออกจะเป็นดอก คุณภาพดี คือออกมาพร้อมยอดอ่อน และออกมาจากซอกใบ จากนี้ไปให้บำรุงด้วยปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 15-15-15หรือ 16-16-16 และทำการรักษาดอกมะนาวให้ดีโดยต้องรักษาเชื้อราต่างๆ เนื่องจากช่วงนี้อากาศเริ่มหนาวเย็นความชื้นสูง และจะได้มะนาวผลโตๆไว้จำหน่ายในช่วงหน้าแล้งที่ว่ากันว่ามะนาวแพงที่สุดโดย มีมะนาวจำหน่ายตั้งแต่เดือนมีนาคม จนถึงเดือนกรกฎาคม ซึ่งจะเป็นช่วงที่มะนาวราคาที่เกษตรกรปลูกมะนาวพอใจในราคามะนาวมากที่สุด..
สำหรับมะนาวที่ให้ผลผลิตแล้ว หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จะมีมะนาวส่วนที่ยังติดต้นยังไม่ต้องเอาออกให้คงไว้แบบนั้นหรือเก็บเกี่ยวไป เรื่อยๆ ช่วงนี้มะนาวอย่าให้ขาดน้ำเป็นเด็ดขาดโดยให้น้ำทุกวัน สำหรับมะนาวที่ปลูกในวงบ่อซีเมนต์เติมดินที่ผสมปุ๋ยคอกลงไปให้เต็มวงด้วย จากนั้นบำรุงโดยให้ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 ต้นละ 3 กำมือ และสลับกับการให้ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 (ใส่ห่างจากโคนต้น) ทุก 25 วัน ช่วงนี้ต้องรักษายอดมะนาวที่ออกใหม่ อย่าให้เพลี้ยไฟหรือหนอนชอนใบมาทำลายยอดอ่อนมะนาวได้ ดอกที่ออกมาช่วงพฤษภาคม-มิถุนายนให้ปลิดทิ้งตลอด
ช่วงเดือนกรกฏาคม ต้นมะนาวจะสมบูรณ์สุดๆ ช่วงนี้ให้งดให้ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 แต่ยังคงให้ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 เหมือนเดิมแต่ให้ถี่ขึ้นคือ 20 วันต่อครั้ง โดยลดจำนวนลงเหลือ 2 กำมือ ส่วนน้ำยังคงให้สม่ำเสมอเช่นเดิมแต่หากฝนตกก็ควรงดน้ำ เพราะช่วงนี้เข้าหน้าฝนแล้ว เมื่อถึงปลายเดือนกรกฏาคม ให้ตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มออก ประมาณ 30% ลูกที่ติดอยู่บนต้นทั้งหมดเอาออก หากมีดอกก็ให้ปลิดทิ้งให้ต้นมะนาวว่าง
ช่วงเดือนสิงหาคม-เดือนกันยายน ช่วงนี้มะนาวจะแตกยอดอ่อนมามาก บางส่วนที่ไม่ได้ตัดแต่งกิ่งก็จะมีดอกออกมาบ้างก็ให้ทำการเด็ดทิ้งเช่นเดิม และเน้นพ่นยาเพื่อรักษายอดอ่อนให้ดี สำหรับเดือนนี้ทั้งเดือนให้ลด การให้ปุ๋ยเคมี 25-7-7 เหลือต้นละ 1 กำมือแต่น้ำยังคงให้ตามปกติ
ช่วงเดือนตุลาคม ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 ต้นละ 3 กำมือ จำนวน 2 ครั้ง โดยห่างกัน 20 วัน หลังจากนั้นจะสังเกตเห็นว่ามะนาวจะออกดอกมาเรื่อยๆซึ่งดอกที่ออกจะเป็นดอก คุณภาพดี คือออกมาพร้อมยอดอ่อน และออกมาจากซอกใบ จากนี้ไปให้บำรุงด้วยปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 15-15-15หรือ 16-16-16 และทำการรักษาดอกมะนาวให้ดีโดยต้องรักษาเชื้อราต่างๆ เนื่องจากช่วงนี้อากาศเริ่มหนาวเย็นความชื้นสูง และจะได้มะนาวผลโตๆไว้จำหน่ายในช่วงหน้าแล้งที่ว่ากันว่ามะนาวแพงที่สุดโดย มีมะนาวจำหน่ายตั้งแต่เดือนมีนาคม จนถึงเดือนกรกฎาคม ซึ่งจะเป็นช่วงที่มะนาวราคาที่เกษตรกรปลูกมะนาวพอใจในราคามะนาวมากที่สุด..
การดูแลรักษามะนาวช่วงออกดอกถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต
เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ส่วนใหญ่การปลูกมะนาวจะ
เริ่มติดผลขนาดเล็กถึงใหญ่ ควรมีการให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอีกครั้ง
และให้ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 ระยะเดือนต้องพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเพลี้ยหอย
ไรแดง เพลี้ยไฟ ที่มักจะระบาดได้ง่าย นอกจากนี้อาจพ่นธาตุอาหารเสริมทางใบ
เช่น เหล็ก แมงกานีส สังกะสี โบรอน และอย่าให้มะนาวขาดน้ำในช่วงนี้
เดือนมกราคม มะนาวจะเริ่มขยายผลให้ใหญ่ขึ้น ให้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 16-16-16 เพื่อบำรุงผลและต้นไม่ให้โทรม ช่วงนี้อากาศหนาว โดยเฉพาะภาคเหนือ จะต้องให้น้ำมากขึ้นกว่าปกติ เพื่อให้ผลมะนาวมีการเจริญเติบโตที่ปกติและผลมีคุณภาพดี มีน้ำมาก และมีกลิ่นหอม เดือนมกราคมอาจมีบางผลที่เริ่มแก่บ้างก็สามารถเก็บจำหน่ายได้
เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน มะนาวจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้มากขึ้น จึงควรทยอยและเลือกเก็บมะนาวที่เริ่มแก่ โดยเฉพาะช่อผลที่แน่นเกินไป
เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตส่วนใหญ่หมดแล้ว อาจมีผลผลิตส่วนหนึ่งเหลืออยู่บนต้นบ้าง ถ้าไม่มากเกินไปก็สามารถเลี้ยงไว้บนต้นได้ หลังจากนั้นควรใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 เพื่อบำรุงต้น และถ้ามีต้นที่กำลังออกดอกใหม่ ควรทำลายดอกทิ้ง ซึ่งมีหลายวิธีแต่ขอแนะนำให้ใช้วิธีการตัดแต่งดีที่สุด อีกวิธีหนึ่งที่พอจะทำได้ คือการใช้ปุ๋ยยูเรีย ฉีดพ่นที่ช่อดอกให้ดอกร่วง โดยใช้อัตรา 1 กก.ผสมน้ำ 20 ลิตร(5%) ฉีดพ่นเฉพาะช่อดอก ก็สามารถทำได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามถ้าใช้มากเกินไป อาจทำให้เสียหายต่อตาและกิ่ง หรือใบได้ จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
เดือนมกราคม มะนาวจะเริ่มขยายผลให้ใหญ่ขึ้น ให้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 16-16-16 เพื่อบำรุงผลและต้นไม่ให้โทรม ช่วงนี้อากาศหนาว โดยเฉพาะภาคเหนือ จะต้องให้น้ำมากขึ้นกว่าปกติ เพื่อให้ผลมะนาวมีการเจริญเติบโตที่ปกติและผลมีคุณภาพดี มีน้ำมาก และมีกลิ่นหอม เดือนมกราคมอาจมีบางผลที่เริ่มแก่บ้างก็สามารถเก็บจำหน่ายได้
เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน มะนาวจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้มากขึ้น จึงควรทยอยและเลือกเก็บมะนาวที่เริ่มแก่ โดยเฉพาะช่อผลที่แน่นเกินไป
เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตส่วนใหญ่หมดแล้ว อาจมีผลผลิตส่วนหนึ่งเหลืออยู่บนต้นบ้าง ถ้าไม่มากเกินไปก็สามารถเลี้ยงไว้บนต้นได้ หลังจากนั้นควรใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 เพื่อบำรุงต้น และถ้ามีต้นที่กำลังออกดอกใหม่ ควรทำลายดอกทิ้ง ซึ่งมีหลายวิธีแต่ขอแนะนำให้ใช้วิธีการตัดแต่งดีที่สุด อีกวิธีหนึ่งที่พอจะทำได้ คือการใช้ปุ๋ยยูเรีย ฉีดพ่นที่ช่อดอกให้ดอกร่วง โดยใช้อัตรา 1 กก.ผสมน้ำ 20 ลิตร(5%) ฉีดพ่นเฉพาะช่อดอก ก็สามารถทำได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามถ้าใช้มากเกินไป อาจทำให้เสียหายต่อตาและกิ่ง หรือใบได้ จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
ผลกระทบสำหรับมะนาวในช่วงปลายฝนต้นหนาว
หลายคนที่ทำมะนาวนอกฤดูต้นมะนาวก็จะต้องออกดอกในช่วงหน้าหนาวพอดี ดังนั้นเรามาดูปัญหาและวิธีการป้องกันแก้ใขปัญหาของมะนาวที่เราปลูกไว้ดัง นี้
-ฤดูฝน ก่อนปลูกมะนาวจะต้องศึกษาพื้นที่เสียก่อนว่ามีประวัติน้ำท่วมหรือไม่ ถ้าท่วมนั้นเคยท่วมสูงสุดเท่าไหน เพื่อหาทางป้องกันเช่นทำการยกร่อง เป็นต้น และโรคที่มักจะมากับหน้าฝนหรืออากาศชื้นๆนั้นมักพบว่าโรคแคงเกอร์และเฃื้อรา ต่างๆ รวมถึงเพลี้ยไฟด้วย ดังนั้นต้องหมั่นตรวจสอบดูแลและป้องกัน
-ฤดูหนาว ช่วงนี้อากาศจะมีความชื้นสูงและเป็นเวลาเดียวกันกับที่มะนาวนอกฤดูของเรา กำลังออกดอกหรือเริ่มติดผลอ่อนๆซึ่งเป็นช่วงสำคัญมากๆสำหรับชาวสวนมะนาว เพราะมันหมายถึงจำนวนผลผลิตที่จะตามมาในช่วงที่มะนาวราคาแพงที่สุด ที่สำคัญก่อนหน้านี้ต้องบำรุงต้นให้สมบูรณ์มาก่อนไม่เช่นนั้น มะนาวจะสลัดผลอ่อนที่เพิ่งติดลูกออกเพราะความไม่สมบูรณ์ของต้นนั่นเอง ปัญหาที่พบมากที่สุดสำหรับช่วงนี้คือเชื้อรา คือเชื้อราลงขั้วซึ่งจะเกิดจากกลีบดอกที่ร่วงมาอัดรวมกันบริเวณขั้วของมะนาว ที่เพิ่งติดผล เมื่อแห้งแต่อากาศมีความชื้นมากๆจึงเกิดเชื้อราขึ้นทำให้ผลอ่อนหลุดร่วงหรือ ที่เรียกว่าหักคอม้านั่นเอง ดังนั้นแนวทางป้องกันคือกำจัดกลีบดอกที่ร่วงหล่นติดอยู่ตามช่อผลของมะนาวออก ไปเช่นการเขย่าเบาๆ เป็นต้น พร้อมกับพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราและแคงเกอร์ไปพร้อมกันด้วย
คุณนิพนธ์บอกว่า ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงแนวทางต่างๆ ชาวสวนต้องนำไปปรับแต่งให้เข้าสวนมะนาวของตัวเองได้ ที่สำคัญต้องบำรุงต้นมะนาวให้สมบูรณ์มากที่สุด เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับพวกเราชาวสวนมะนาว
หลายคนที่ทำมะนาวนอกฤดูต้นมะนาวก็จะต้องออกดอกในช่วงหน้าหนาวพอดี ดังนั้นเรามาดูปัญหาและวิธีการป้องกันแก้ใขปัญหาของมะนาวที่เราปลูกไว้ดัง นี้
-ฤดูฝน ก่อนปลูกมะนาวจะต้องศึกษาพื้นที่เสียก่อนว่ามีประวัติน้ำท่วมหรือไม่ ถ้าท่วมนั้นเคยท่วมสูงสุดเท่าไหน เพื่อหาทางป้องกันเช่นทำการยกร่อง เป็นต้น และโรคที่มักจะมากับหน้าฝนหรืออากาศชื้นๆนั้นมักพบว่าโรคแคงเกอร์และเฃื้อรา ต่างๆ รวมถึงเพลี้ยไฟด้วย ดังนั้นต้องหมั่นตรวจสอบดูแลและป้องกัน
-ฤดูหนาว ช่วงนี้อากาศจะมีความชื้นสูงและเป็นเวลาเดียวกันกับที่มะนาวนอกฤดูของเรา กำลังออกดอกหรือเริ่มติดผลอ่อนๆซึ่งเป็นช่วงสำคัญมากๆสำหรับชาวสวนมะนาว เพราะมันหมายถึงจำนวนผลผลิตที่จะตามมาในช่วงที่มะนาวราคาแพงที่สุด ที่สำคัญก่อนหน้านี้ต้องบำรุงต้นให้สมบูรณ์มาก่อนไม่เช่นนั้น มะนาวจะสลัดผลอ่อนที่เพิ่งติดลูกออกเพราะความไม่สมบูรณ์ของต้นนั่นเอง ปัญหาที่พบมากที่สุดสำหรับช่วงนี้คือเชื้อรา คือเชื้อราลงขั้วซึ่งจะเกิดจากกลีบดอกที่ร่วงมาอัดรวมกันบริเวณขั้วของมะนาว ที่เพิ่งติดผล เมื่อแห้งแต่อากาศมีความชื้นมากๆจึงเกิดเชื้อราขึ้นทำให้ผลอ่อนหลุดร่วงหรือ ที่เรียกว่าหักคอม้านั่นเอง ดังนั้นแนวทางป้องกันคือกำจัดกลีบดอกที่ร่วงหล่นติดอยู่ตามช่อผลของมะนาวออก ไปเช่นการเขย่าเบาๆ เป็นต้น พร้อมกับพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราและแคงเกอร์ไปพร้อมกันด้วย
คุณนิพนธ์บอกว่า ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงแนวทางต่างๆ ชาวสวนต้องนำไปปรับแต่งให้เข้าสวนมะนาวของตัวเองได้ ที่สำคัญต้องบำรุงต้นมะนาวให้สมบูรณ์มากที่สุด เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับพวกเราชาวสวนมะนาว
Rakkaset Nungruethail รักษ์เกษตร
Email:taajook@gmail.com
เทคนิคการขยายพันธ์มะนาว
เทคนิคการขยายพันธุ์มะนาว
เทคนิคการขยายพันธุ์มะนาว เพิ่มปริมาณกิ่งพันธุ์สูงสุด ด้วยกิ่งติดใบเพียงใบเดียว
จริงๆเทคนิคนี้มีการเรียกกันว่า การขยายพันธุ์มะนาวด้วยใบ
แต่จริงๆแล้วต้องบอกว่าเป็นการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการชำกิ่งค่ะ
เพียงแต่เราใช้กิ่งที่ติดใบเพียง 1 ใบ
จากปกติที่เราคุ้นเคยและใช้กันมานานเราจะใช้กิ่งที่มีใบหลายใบมาชำค่ะ
โดยเทคนิคนี้มีการถ่ายทอดโดย "ครูติ่ง" หรือ "คุณสุรชัย สมันตรัฐ" แห่ง
"ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ธ.ก.ส." บ้านเกาะเนียง ต.ควนโพธิ์
อ.เมือง จ.สตูล
ที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทดลองใช้วิธีการขยายพันธุ์มะนาวและมะกรูดด้วยใบ
เพียง 1 ใบ จนประสบผลสำเร็จอย่างดี
สามารถขยายพันธุ์มะนาวจากต้นแม่พันธุ์เพียง 1 ต้น ได้กิ่งพันธุ์นับพันกิ่ง
เหมาะอย่างยิ่งที่จะขยายพันธุ์มะนาวเพื่อใช้เอง
และเพื่อการค้าในยุคมะนาวราคาแพงอย่างในปัจจุบัน
เทคนิค
นี้จะใช้สามารถใช้ใบทุกใบบนกิ่งได้
แต่ถ้าเป็นใบเพสลาดคือต่ำลงมาจากยอดประมาณ 3-4 ใบจะดีที่สุด
โดยใบที่สมบูรณ์เต็มที่เวลานำใบมากำจะกรอบ
แสดงว่าได้มีการสะสมอาหารอย่างเต็มที่แล้ว
ส่วนใบที่กำแล้วยังนิ่มอ่อนแสดงว่าอาหารยังไม่เพียงพอ
แต่ในกรณีที่ใบอ่อนก็สามารถทำได้เช่นกันแต่การออกรากและติดตาจะเร็วช้าต่าง
กัน ซึ่งถ้ากิ่งไหนมีรากและติดตาก่อนให้นำมาใช้ก่อนได้
ส่วนกิ่งไหนรากออกช้าก็ปล่อยไว้ก่อน การันตีไม่มีตายแต่จะออกรากช้าเท่านั้น
ครู
ติ่งจะทำมีดหั่นกาบมะพร้าวอย่างง่ายๆใช้เองจากภูมิปัญญา โดยนำมีดเก่าๆ
ที่ไม่ใช้แล้วสองด้าม มาตัดด้ามออก จากนั้นตัดเหล็กให้มีขนาดยาวประมาณ 2.5
นิ้ว แล้วนำมาเชื่อมติดกับมีดที่ตัดเตรียมไว้แล้ว
นำเหล็กที่เหลือใช้มาติดทำเป็นด้ามจับ
หรือเราจะใช้มีดธรรมดาหั่นกาบมะพร้าวก็ได้ค่ะ
วิธีทำ
1.นำกาบมะพร้าวมาแช่น้ำจนชุ่มหั่นให้ได้ความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร แล้วเอาค้อนทุบจนกาบมะพร้าวแตกนุ่มขึ้น เพื่อง่ายต่อการห่อให้กลม
1.นำกาบมะพร้าวมาแช่น้ำจนชุ่มหั่นให้ได้ความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร แล้วเอาค้อนทุบจนกาบมะพร้าวแตกนุ่มขึ้น เพื่อง่ายต่อการห่อให้กลม
2.เมื่อ
ได้กาบมะพร้าวที่นุ่มแล้ว นำมาห่อม้วนเป็นทรงกลม รัดหนังยางหัวท้าย
แล้วนำตะปูทิ่มลงไปบริเวณด้านบนของกาบมะพร้าวให้เป็นรู
เพื่อลดการเสียดสีเวลานำกิ่งเสียบลงไป
3.ตัดกิ่งมะนาวหรือมะกรูดจากต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์ โดยเลือกใบที่เพสลาดอย่างที่บอก ตัดบริเวณก้านลงมาจนติดกับอีกใบ จากนั้นตัดใบให้เหลือครึ่งใบ เพื่อลดการคายน้ำ ตัดหนามออก (ถ้ามี)
4.นำคัดเตอร์มากรีดก้านใบ 2 ด้านเพื่อให้มีแผล เป็นการเพิ่มพื้นที่ในการออกราก ถ้าไม่กรีดรากจะน้อย จากนั้นนำไปจุ่มน้ำยาเร่งรากไม่ต้องนาน นำมาผึ่งลมให้แห้ง
5.เมื่อแห้งแล้วนำมาเสียบลงในรูกาบมะพร้าวที่เตรียมไว้จนมิดก้าน จากนั้นนำก้อนกาบมะพร้าวที่เสียบใบลงไปแล้ว 4 ก้อนมามัดรวมกันเพื่อให้ตั้งได้ นำไปจุ่มน้ำให้ชุ่มแล้วใส่ไว้ในถุงร้อน มัดหนังยางในลักษณะให้ถุงร้อนพองโป่งออก ให้ใบไม่กระทบถุง
6.ถ้าชำกิ่งในปริมาณมาก สามารถนำกิ่งไปใส่ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่หรือทำกระโจมอบเพื่อเพิ่มความชื้นใน กระโจมจะทำให้การออกรากดีขึ้น หรือจะทำถาดรองน้ำไว้ด้านล่างแล้วเอาตะแกรงวางทับลงไป แล้วจึงวางกิ่งชำไปบนตะแกรง อย่าให้โดนน้ำด้านล่าง แล้วจึงทำกระโจมครอบก็ได้ จะช่วยเพิ่มความชื้นได้ดีมากขึ้น
3.ตัดกิ่งมะนาวหรือมะกรูดจากต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์ โดยเลือกใบที่เพสลาดอย่างที่บอก ตัดบริเวณก้านลงมาจนติดกับอีกใบ จากนั้นตัดใบให้เหลือครึ่งใบ เพื่อลดการคายน้ำ ตัดหนามออก (ถ้ามี)
4.นำคัดเตอร์มากรีดก้านใบ 2 ด้านเพื่อให้มีแผล เป็นการเพิ่มพื้นที่ในการออกราก ถ้าไม่กรีดรากจะน้อย จากนั้นนำไปจุ่มน้ำยาเร่งรากไม่ต้องนาน นำมาผึ่งลมให้แห้ง
5.เมื่อแห้งแล้วนำมาเสียบลงในรูกาบมะพร้าวที่เตรียมไว้จนมิดก้าน จากนั้นนำก้อนกาบมะพร้าวที่เสียบใบลงไปแล้ว 4 ก้อนมามัดรวมกันเพื่อให้ตั้งได้ นำไปจุ่มน้ำให้ชุ่มแล้วใส่ไว้ในถุงร้อน มัดหนังยางในลักษณะให้ถุงร้อนพองโป่งออก ให้ใบไม่กระทบถุง
6.ถ้าชำกิ่งในปริมาณมาก สามารถนำกิ่งไปใส่ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่หรือทำกระโจมอบเพื่อเพิ่มความชื้นใน กระโจมจะทำให้การออกรากดีขึ้น หรือจะทำถาดรองน้ำไว้ด้านล่างแล้วเอาตะแกรงวางทับลงไป แล้วจึงวางกิ่งชำไปบนตะแกรง อย่าให้โดนน้ำด้านล่าง แล้วจึงทำกระโจมครอบก็ได้ จะช่วยเพิ่มความชื้นได้ดีมากขึ้น
7.บริเวณ
ที่ไว้กิ่งชำควรอยู่ใต้ต้นไม้ที่มีร่มเงา ให้โดนแสงบ้างเล็กน้อย ประมาณ 1
เดือน มะนาวจะเริ่มออกรากหรือเริ่มแตกใบใหม่
ส่วนถ้าเป็นมะกรูดจะใช้เวลานานประมาณ 3-4 เดือน
จึงจะเริ่มออกรากและแตกใบใหม่ จึงนำไปลงถุงชำต่อไปได้
หมาย
เหตุ
หากนำกิ่งปักชำไปไว้กลางแดดจะกระตุ้นให้เกิดการแตกใบใหม่และการออกรากเร็ว
กว่าอยู่ในร่ม แต่ใบจะขาดความชื้น
ดั้งนั้นต้องมีเครื่องพ่นหมอกเพื่อช่วยให้ความชื้นทุก ๆ 15
นาทีเพื่อไม่ให้ใบแห้ง ซึ่งจะทำให้ออกรากแตกตายอดได้เร็ว
หลัง
จากใบมะนาวและใบมะกรูดในกาบมะพร้าวจนเกิดรากและแตกยอดใหม่
นำไปชำต่อในถุงดำประมาณ 1
เดือนเพื่อให้รากมีปริมาณมากและต้นมีความแข็งแรงก่อนนำไปปลูกลงแปลง
โดยใช้เวลาในการขยายกิ่งมะนาวด้วยใบตั้งแต่เริ่มต้นจนสามารถปลูกลงดินได้
ใช้เวลา 2-3 เดือน แต่ถ้าเป็นมะกรูดอาจใช้เวลามากกว่าหรืออาจ 4-5 เดือน
เป็นต้น
การ
ขยายพันธุ์มะนาวและมะกรูดด้วยใบ ถือเป็นสุดยอดของภูมิปัญญาท้องถิ่น
ใช้เงินทุนน้อย แต่สามารถขยายพันธุ์ในปริมาณมาก
ถือว่าเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องขยายสวนมะนาวในยุคมะนาวแพง
หรือจะขยายพันธุ์มะนาวเพื่อการค้าก็ทำได้
ใครอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ ครูติ่ง โทร.081-7675695
การทำเกษตรที่ดีและได้ผลนั้น ประกอบด้วยหัวใจหลัก 4 ด้าน ได้แก่..ดินดี น้ำดี กิ่งพันธุ์ดี และมีการจัดการที่ดี
ดินดี ถือเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญอันดับต้นๆ ซึ่งการปลูกพืชแต่ละชนิดต้องคำนึงถึงลักษณะของดินเป็นหลัก และต้องเป็นดินที่เหมาะสมกับพืชนั้นๆ ด้วย การจะปลูกพืช ต้องใส่ใจเรื่องการปรับปรุงคุณภาพดินเสียก่อนที่จะลงมือปลูก เพราะจะปรับง่ายกว่า ปรับได้ทั่วถึง และต้นทุนถุกกว่ามาก
น้ำดี การปลูกพืชทุกชนิดในระยะเริ่มต้นต้องใช้น้ำเป็นตัวแปรสำคัญในการเจริญเติบ โตทั้งสิ้น ถ้าขาดน้ำหรือได้รับน้ำที่ไม่เหมาะสม การลงทุนลงแรงปลูกไปก็จะเสียเปล่า การจัดการเรื่องน้ำต้องสอดคล้องกับลักษณะของพืชที่เราปลูกด้วย
กิ่งพันธุ์ที่ดี หรือเมล็ด พันธุ์ เป็นปัจจัยที่สำคัญ เนื่องจากพืชในปัจจุบันมีมากมายหลายพันธุ์ และแต่ละพันธุ์จะมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันไป ทั้งในด้านความเหมาะสมต่อสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศที่ปลูกด้วย ในระยะเริ่มต้น เราอาจจะทดลองปลูกจำนวนน้อยๆ เพื่อดูว่าพืชนี้เหมาะกับพื้นที่เกษตรของเราหรือไม่ หรือไปดูที่สวนที่เค้าจำหน่ายต้นพันธุ์ให้ก็ได้ ซึ่งพืชแต่ละชนิดก็จะมีลักษณะความสมบูรณ์ที่แตกต่างกัน จึงควรศึกษาจากแหล่งพันธุ์หลายๆ ที่
การจัดการที่ดี การจัดการนั้น รวมไปถึงความรู้เกี่ยวกับพืชนั้นๆ การปลูก การให้ปุ๋ย การให้น้ำ โรคต่างๆ เงินทุน แรงงาน ตลาด และที่สำคัญ ช่วงราคาของพืชนั้นๆ เมื่อผลผลิตของเราออกสู่ตลาด ซึ่งการปลูกแล้วได้ผลผลิตออกในช่วงที่ราคาพืชชนิดนั้นสูงย่อมได้รายได้ที่ มากกว่า แต่ส่วนใหญ่แล้ว มักจะทำได้ยากกว่าปกติ ต้องอาศัยความชำนาญในการปลูก หากไม่รู้ว่าจะปลูกอะไรช่วงไหนดี สามารถศึกษาข้อมูลได้ที่นี่..
Email:taajook@gmail.com
เทคนิคการปลูกมะละกอ.!! 8 ไร่ สองแสนใน 2 เดือน.!!
เปิดเทคนิค..การปลูกมะละกอให้ดกแบบคุณภาพของสวนคุณ
ปรีชา 8 ไร่ เก็บครั้งละ 3-4 ตัน ฟันเงินกว่า 2.5 แสน ในช่วงเวลา 2 เดือน
เรียก
ว่าสร้างความฮือฮาแบบไลท์ถล่มทลายในกลุ่มเกษตรก้าวใหม่หลังจากที่ได้เห็น
ความดกแบบอลังการของมะละกอสวนนี้
ทำให้หลายคนอยากรู้เทคนิคการทำมะละกอให้ติดดกแบบคุณภาพ
เพราะนั่นหมายถึงปริมาณผลผลิตที่สูงมากๆ
แม้ราคามะละกอในช่วงนี้อาจไม่สูงมากนักแต่จากผลผลิตที่ดกเต็มคอและคงจะเก็บ
เกี่ยวผลผลิตไปได้อีกยาวนานก็คงจะทำเงินให้กับสวนนี้ได้อีกไม่น้อยทีเดียว
ขนาดมะละกอราคาไม่ค่อยดีแต่เพียงระยะเวลา 2
เดือนกว่าที่เก็บผลผลิตก็สามารถทำเงินได้มากกว่า 2.5 แสนบาท
หากราคามะละกอสูงกว่านี้ คงฟันเงินไปมากกว่านี้อย่างแน่นอน..
ทำสวนมะละกอครั้งแรก...หลังวิกฤติอ้อยตกต่ำ
ไม่
น่าเชื่อว่า
มะละกอคุณภาพขนาดนี้จะเป็นการทำสวนมะละกอครั้งแรกของเด็กหนุ่มไฟแรงมากความ
สามารถที่เพิ่งเรียนจบมหาวิทยาลัยมาได้ไม่กี่ปี คุณปรีชา กาละวัย
เจ้าของสวนมะละกอปรีชา บอกกับเราว่า นี่เป็นสวนมะละกอแปลงแรกของเขา
เพราะอาชีพดั่งเดิมของครอบครัวก็คือการทำอ้อยและรับโควตาซื้ออ้อยเข้าโรงงาน
ปีหนึ่งกว่า 4-5 พันตันหรือคิดเป็นปริมาณพื้นที่ปลูกก็ร่วม 500 กว่าไร่
แต่ในช่วงปีหลังๆมานี้ธุรกิจอ้อยที่เคยเป็นรายได้หลักของครอบครัวและเป็นราย
ได้ที่สร้างฐานะให้กับครอบครัวกลับกลายเป็นพืชที่สร้างหนี้ก้อนโตสะสมขึ้น
เรื่อยๆ จากทั้งสภาวะฝนแล้ง อ้อยขาดน้ำ ผลผลิตเสียหาย ราคาอ้อยที่ตกต่ำ
ขาดทุนต่อเนื่องและสะสมมาตลอดหลายปี ยิ่งทำมากยิ่งขาดทุนมาก
คุณปรีชาเองเรียนจบด้านวิทยาการ คอมพิวเตอร์ จาก ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
และมาทำงานกับบริษัทเอกชนในกรุงเทพฯ ในตำแหน่ง System Engineer บริษัท แวลู
เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ก่อนหน้านี้เขาบอกว่าไม่เคยรับรู้ปัญหาของทางบ้าน
แต่เมื่อได้รับรู้เขาจึงคิดโจทย์ใหญ่ที่จะมาแก้วิกฤตินี้ให้ได้
เขาศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลด้านเกษตรจากหลายช่องทางทั้งอินเตอร์เน็ต
หนังสือเกษตร(ดีใจค่ะที่ รักษ์เกษตร
คือหนังสืออีกหนึ่งเล่มที่มีส่วนสร้างแรงบันดาลใจและเป็นแหล่งข้อมูลของเขา)
รวมทั้งการเดินทางไปดูสวนจริง
จนในที่สุดเขาตัดสินใจเลือกมะละกอพืชที่เขามองว่าปลูกไม่ยาก ดูแลไม่มาก
ช่วงวันธรรมดาก็ให้ครอบครัวดูแลได้ แต่เสาร์-อาทิตย์เขาก็กลับมาช่วยดูแลได้
อีกทั้งเป็นพืชที่มีแนวโน้มทางการตลาดที่ดี ผลตอบแทนสูง ที่สำคัญ
กาญจนบุรีเป็นแหล่งใหญ่ของการปลูกมะละกออยู่แล้ว
การหาแม่ค้ารับซื้อผลผลิตในวันเก็บเกี่ยวจึงไม่น่าจะใช่เรื่องยาก
พื้นฐานดินที่ดี สมบูรณ์ คือส่วนสำคัญของผลผลิตที่ดี
หลังจากที่ตัดสินใจแล้วคุณปรีชาก็เตรียมแปลงโดยเลือกพื้นที่ใกล้บ้านจำนวน 8 ไร่ มาปลูกมะละกอฮอลแลนด์
ซึ่งความได้เปรียบของที่ดินแปลงนี้ก็คือ
การมีแหล่งน้ำที่เพียงพอจากบ่อบาดาล อยู่ใกล้บ้าน การดูแลสะดวก
ที่สำคัญสภาพพื้นดินสมบูรณ์มากๆ
จากการที่ที่ดินแปลงนี้เคยปลูกอ้อยมาก่อนและมีการบำรุงดินอย่างดีในช่วงที่
ปลูกอ้อยซึ่งจะมีการใส่ปุ๋ยขี้ไก่อยู่ตลอดทุก 2-3 เดือน
ทำให้สภาพโครงสร้างของดินที่นี่จัดว่าดีเลยทีเดียว ดินร่วนซุย
อุดมสมบูรณ์ไปด้วยธาตุอาหาร
เมื่อสภาพโครงสร้างพื้นฐานของดินที่ดีเมื่อใส่ปุ๋ยเคมี
ต้นพืชก็ดูดปุ๋ยไปใช้ได้อย่างเต็มที่
ถึงแม้กระนั้นก่อนปลูกเขาก็ยังรองพื้นขี้ไก่ไปอีกหลายร้อยกระสอบ
เทคนิคการทำให้มะละกอติดดก คุณภาพดี
หลัง
จากเตรียมดินดีแล้ว ก็มาเตรียมต้นกล้าที่ดีพร้อมปลูก
โดยเลือกซื้อเมล็ดจากแหล่งที่เชื่อถือได้ โดยมีเทคนิคการทำให้ต้นกล้างอกดี
งอกสม่ำเสมอด้วยการนำเมล็ดมาแช่น้ำอุ่น 1 คืน
และบ่มเมล็ดด้วยการห่อผ้าทิ้งไว้อีก 2-3 คืน
เมื่อเมล็ดเริ่มงอกจึงนำมาเพาะในถุงดำ ต้นละ 3 เมล็ด
แล้วคลุมพลาสติกดำไว้อีก 5 วัน
เมื่อเปิดพลาสติกดำออกมาต้นกล้าจะงอกอย่างสวยงามเลยทีเดียว
เมื่อต้นกล้าอายุ 45 วันจึงนำไปปลูกลงแปลง คุณปรีชาบอกว่า
มะละกอแปลงนี้มีอยู่ประมาณ 1,500 ต้น ใช้ระยะปลูก 2.7x3 เมตร
เมื่อต้นมะละกอออกดอกอายุ 2-3 เดือน จึงคัดเพศ เลือกต้นกระเทยไว้
ตามหลักการปลูกมะละกอทั่วไป
สำหรับ
การใส่ปุ๋ยช่วงแรกใส่ปุ๋ยขี้ไก่รองพื้นก่อนปลูก จากนั้นก็ให้ 15-0-0 ทุก 15
วัน หลังคัดเพศ อายุประมาณ 3 เดือน เปลี่ยนมาใส่ 8-24-24 สลับกับ 14-7-35
หรือ 15-5-20 ทุก 15 วัน ปริมาณปุ๋ยที่ให้ไม่มาก 8 ไร่ ใส่เพียง 100
กก.หรือ ปุ๋ย 2 กระสอบ นั่นเพราะสภาพโครงสร้างของดินที่ดีตั้งแต่ก่อนปลูก
และเขาให้ความสำคัญอย่างมากกับโครงสร้างดินที่ร่วนซุยด้วยการใส่ขี้ไก่ทุก 2
เดือนต้นละ 2 กก./ครั้ง
ซึ่งที่นี่ค่อนข้างได้เปรียบเพราะมีฟาร์มเลี้ยงไก่เยอะ
คุณปรีชาจะไปเหมาเล้าเลย เล้าละ 5-6 พันบาท กรอกถุงได้ประมาณ 800-900
ถุงปุ๋ย ส่วนทางใบพ่นปุ๋ยเกร็ด 0-52-34 อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
สลับกับปุ๋ยเกร็ด 30-20-10 พ่นทุก 7
วันร่วมกับธาตุอาหารเสริมแคลเซียม-โบรอนที่ให้อย่างต่อเนื่อง
เชื่อว่าไม่มีคนปลูกมะละกอคนไหนให้ปุ๋ยมากขนาดนี้อย่างแน่นอนค่ะ
แต่นี่คือการลงทุนที่เกินคุ้มค่ะ ส่วนโรค-แมลงก็จะควบคุมอย่างต่อเนื่อง
โดยแมลงก็ใช้เพียงอิมิดาคลอพริดพ่นสลับกับคาร์โบซัลแฟน
หรือถ้าเจอแมลงระบาดก็จะจัดการเป็นตัวๆไป
ยากันราก็ใช้แมนโคเซ็บกับคาร์เบนดาซิมยืนพื้น มีคอปเปอร์มาพ่นสลับบ้าง
และถ้ามีปัญหาก็จะว่ากันไปตามการระบาด
คุณ
ปรีชาบอกว่า มะละกอเป็นพืชที่ลงทุนไม่สูง
ขนาดเขาให้ปุ๋ยและพ่นยาอย่างเต็มที่
เมื่อเทียบกับบางแปลงที่แทบไม่ได้ใส่ปุ๋ยหรือพ่นยาเลย มะละกอ 8
ไร่นี้ยังหมดค่าปุ๋ย ค่ายาเพียงเดือนละ 10,000-12,000 บาท
รวมค่าแรงแล้วเท่ากับเก็บมะละกอเพียงรอบเดียวก็คืนทุนแล้ว
แต่เดือนหนึ่งเขาเก็บมะละกอตั้ง 8-10 ครั้ง
โดยต้นทุนตั้งแต่ปลูกจนถึงตอนนี้ 10 กว่าเดือนเขาลงทุนไปแค่ 1 แสนบาท
แต่เก็บมะละกอขายมาแล้วกว่า 2.5 แสนบาท
ความได้เปรียบของตลาดและการขายผลผลิต
ความ
ได้เปรียบด้านตลาดของที่นี่ก็คือ
กาญจนบุรีเป็นแหล่งปลูกมะละกอแหล่งใหญ่อยู่แล้ว
ชาวบ้านที่นี่มีการปลูกมะละกอกันอย่างมากมาย
มีคนเก่าเลิกไปก็มีคนใหม่เข้ามาปลูกแทน เป็นเช่นนี้อยู่ตลอด
จึงทำให้มะละกอที่นี่มีผลผลิตต่อเนื่องตลอดทั้งปี
โดยมีผู้รับซื้อหรือรวบรวมในพื้นที่ยักษ์ใหญ่อย่าง นพยุทธ
เจ้าพ่อมะละกอเมืองกาญจน์รับซื้อผลผลิตตลอดอยู่แล้ว
คุณปรีชาจึงไม่ห่วงเรื่องตลาดตั้งแต่แรก ประกอบกับเชื่อมั่นว่า
หากผลผลิตมีคุณภาพแม่ค้าคนไหนก็อยากซื้อ
จึงทำให้มะละกอสวนปรีชามีแต่แม่ค้าเข้ามาขอซื้อผลผลิตอยู่ตลอด ..
การนำผลผลิตส่งตลาดหรือนพยุทธก็ทำเพียงเก็บผลผลิตเสร็จก็นำบรรทุกใส่รถไปยัง จุดรับซื้อ ทางจุดรับซื้อจะนำไปห่อกระดาษหนังสือพิมพ์และนำส่งลูกค้าอีกที โดยที่สวนจะเก็บมะละกอทุก 3-4 วัน หรือสัปดาห์ละ 2 ครั้งโดยประมาณ เดือนละ 8 ครั้ง ครั้งหนึ่งก็ประมาณ 3-4 ตัน หรือมากกว่านี้ โดยมะละกอแปลงนี้เริ่มปลูกเดือนมกราคม เริ่มเก็บผลผลิตปลายเดือนตุลาคม ช่วงแรกที่เก็บเจอราคาสูงไป 2-3 รอบ ยังได้ราคา 27-30 บาท/กก.อยู่ แต่หลังจากนั้นราคามะละกอก็ขยับลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 25 20 15 12 10 บาท/กก.
การนำผลผลิตส่งตลาดหรือนพยุทธก็ทำเพียงเก็บผลผลิตเสร็จก็นำบรรทุกใส่รถไปยัง จุดรับซื้อ ทางจุดรับซื้อจะนำไปห่อกระดาษหนังสือพิมพ์และนำส่งลูกค้าอีกที โดยที่สวนจะเก็บมะละกอทุก 3-4 วัน หรือสัปดาห์ละ 2 ครั้งโดยประมาณ เดือนละ 8 ครั้ง ครั้งหนึ่งก็ประมาณ 3-4 ตัน หรือมากกว่านี้ โดยมะละกอแปลงนี้เริ่มปลูกเดือนมกราคม เริ่มเก็บผลผลิตปลายเดือนตุลาคม ช่วงแรกที่เก็บเจอราคาสูงไป 2-3 รอบ ยังได้ราคา 27-30 บาท/กก.อยู่ แต่หลังจากนั้นราคามะละกอก็ขยับลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 25 20 15 12 10 บาท/กก.
หลัง
จากเห็นผลตอบแทนจากมะละกอแปลงนี้คุณปรีชาก็ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นอีก 16
ไร่ ตอนนี้อายุ 3 เดือนกว่าแล้ว และกำลังเพาะเมล็ดเตรียมปลูกเพิ่มอีก 20
ไร่ ด้วยความมั่นใจว่า
พืชชนิดนี้ยังเป็นทางเลือกที่ดีในการสร้างรายได้ในอนาคตแม้วันนี้ราคามะละกอ
จะถูกกว่าทุกปีที่ผ่านมาก็ตาม
แต่เขายังเชื่อมั่นว่ามะละกอคือพืชทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเขา
เพราะมะละกอ 8 ไร่ ที่เขาปลูกลงทุนไปเพียงแสนกว่าบาท
และเก็บมะละกอในช่วงที่ราคาผลผลิตไม่ดีนักแต่ในระยะ 2 เดือนกว่า มะละกอ
1,500 ต้นก็ทำรายได้ให้กับเขามากกว่า 2.5 แสนบาท
ถ้าราคามะละกอดีกว่านี้เขาเชื่อว่าระยะเวลา 2 เดือนมะละกอ 8 ไร่
จะทำรายได้ให้เขาไม่ต่ำกว่า 3 แสนกว่าบาทแน่นอน
และด้วยความได้เปรียบของการเป็นพืชที่ไม่ต้องดูแลมาก
เพราะช่วงที่ไม่ได้เก็บมะละกอเขาก็ดูแลเองในครอบครัวเพียง 2-3 คน
ช่วงเก็บผลผลิตก็จ้างแรงงานเพิ่มอีกเพียง 2-3 คน
จึงเป็นพืชที่ลงทุนไม่สูงเมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่น เขาบอกว่า
เขาตัดสินใจไม่ผิดที่เลือกเดินหน้ากับมะละกอ
สวนปรีชา 456 ม.5 ต.หนองกร่าง อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี 087-1658993
Email:taajook@gmail.com
เครดิต กลุ่มเกษตรก้าวใหม่ จากคุณหนึ่ง Rakkaset Nungruethail
การ ปลูกข่าเหลืองพืชเศรษฐกิจ.!!
ข่าเหลือง สมุนไพรที่ให้รายได้สูงอย่างต่อเนื่องพืชเศรษฐกิจ
ข่าเหลือง จัดเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่มีการปลูกกันมาในภาคอีสานและภาคใต้ เนื่องจากความนิยมในการนำไปประกอบเป็นเครื่องแกง จึงทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีเกษตรกรปลูกข่าเหลืองเลี้ยงชีพกันอย่างแพร่หลาย
ในช่วงระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ข่าเหลืองมีราคาค่อนข้างสูงมาโดยตลอด ทำให้เกษตรหันมาปลูกกันจำนวนมาก แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ลักษณะของข่าเหลืองจะมีกลิ่นและรสชาติแรงและหอมมากกว่าข่าชนิดอื่นสังเกตที่ เนื้อจะเป็นสีเหลืองข่าเหลืองนับว่าเป็นพืชที่เหมาะกับเกษตรกรที่ชอบปลูกพืชที่ไม่ต้องดูแล มาก เหมือนจำพวกตะไคร้ หรือขจร เป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำราคาดีมาอย่างต่อเนื่อง
“ตลาดใหญ่คือขอนแก่น โคราช อุบลฯ สุรินทร์ / อุบลฯ สุรินทร์เป็นอีกกลุ่มตลาดนึงจะเป็นข่าจากศรีสะเกษ ต่ำกว่าไร่ละแสนไม่ขายที่ศรีสะเกษนะ ถ้าแล้งมาจะแพง”
“ข่าเหลืองสีจะสวยเวลาต้มแกง ทำเครื่องแกงหอม ไม่เหมือน ข่าหยวก ข่าบ้านจะออกขาวๆ “
ปัจจุบันตลาดข่าเหลืองยัง เปิดกว้าง เฉพาะขอนแก่นและนครราชสีมา ต้องการถึงปีละ 400 ไร่ แต่กำลังการผลิตยังไม่ถึง 100 ไร่ และกำลังจะเปิดตลาดไปยังภูมิภาคอื่นๆ ล่าสุดผู้ค้ารายนี้ยังได้รับการติดต่อจากต่างประเทศว่า ต้องการข่าเหลืองแก่ไปผลิตยาจำนวนมาก
การเตรียมกล้าพันธุ์
ใช้หัวหรือแง่งแก่จัดทีซื้อมาจากตลาดใน สภาพที่ยังสด
มีตาตามข้อเห็นได้ชัด ไม่จำเป็นต้องมีราก ตัดแต่งรอยช้ำ
หรือเน่าที่หัวออกให้หมด แล้วนำไปแช่น้ำยากันรา
จากนั้นนำขึ้นมาผึงลมในร่มให้แห้งแล้วทาแผลด้วยปูนแดงกินกับหมาก นำหัว
พันธุ์ที่ได้มาห่มความชื้น โดยการห่อด้วยผ้าชื้นน้ำหนาๆ
นำไปเก็บไว้ในร่ม…หรือ ห่มกระบะโดยมีฟางรองพื้นหนาๆ
วางท่อนพันธุ์แล้วกลบด้วยฟางหนาๆอีกชั้น รดน้ำให้ชุ่มเก็บในที่ร่ม…หรือ
จะนำลงเพาะชำในขี้เถ้าแกลบก็ได้ โดยใช้เวลาการห่มความชื้น 10-20 วัน
รอให้รากงอกและแทงยอดใหม่ออกมา จึงนำไปปลูกต่อไป
วิธีการปลูก
ในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกข่าเหลืองได้ 4,500-5,000 กอ
โดยปลูกเป็นแถวระยะ 80×80 เซนติเมตร ก่อนลงหลุมปลูก
ควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 พร้อมด้วยปูนขาวประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ
หลังจากปลูกแล้วเกษตรกรต้องกำจัดวัชพืชที่ขึ้นรอบหลุมปลูกเป็นประจำและให้
ปุ๋ยสูตรเดิม หรือ 46-0-0 เดือนละประมาณ 2 ครั้ง จนกระทั่งข่าเหลืองอายุได้
7 เดือน ก็สามารถขุดจำหน่ายได้ แต่ช่วง 15 วัน – 1 เดือน
ก่อนที่จะขุดข่าเหลืองส่งตลาด ต้องใส่ปุ๋ยสูตร 0-0-60 อีกครั้ง
เพื่อกระตุ้นให้หน่อมีความสมบูรณ์ อวบใหญ่และมีน้ำหนักมากขึ้น
หากมีระบบจัดการที่ดี ข่าเหลือง 1 กอ จะให้ผลผลิตประมาณ 2-3 กิโลกรัม
จำหน่ายได้ไม่ต่ำกว่า 60 บาท/กอ หักค่าใช้จ่ายแล้วเกษตรกรจะมีรายได้
150,000-200,000 บาท/ไร่
การขุดขึ้นมาแต่ละครั้ง ไม่ควรขึ้นขึ้นมาหมดทั้งกอ ให้เหลือไว้ 3-4 แง่ง
เพื่อเป็นต้นพันธุ์ ซึ่งทำให้การปลูกข่าเพียงครั้งเดียว
ก็สามารถอยู่ได้เป็นสิบปี และหลังจากที่ขุดเอาหัว แง่งไปแล้ว
ควรมีการปรับปรุงบำรุงดินทุกครั้ง
เพื่อความสมบูรณ์และเป็นการเพิ่มธาตุอาหารในดิน
การลงทุน
สำหรับค่าต้นพันธุ์ของข่าเหลืองนั้น นับว่าค่อนข้างสูง พื้นที่ 1 ไร่
ต้องใช้ต้นพันธุ์เป็นเงิน 15,000 – 20,000 บาท ใช้เหง้าพันธุ์ประมาณ
1,500 – 2,000 กก.ต่อไร่ หรือเท่ากับเหง้าพันธุ์ 1 กก. ต่อ 3 หลุม
จากนั้นนำเหง้าพันธุ์มาชุบด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราก่อนปลูกการปลูก
ให้ฝังเหง้าพันธุ์ลึก 5-7 เซนติเมตร
ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่แต่ถ้าใช้ต้นพันธุ์ที่เพาะกล้าไว้ในถุงพลาสติก ขนาด
8×10 นิ้ว ก็จะใช้ 1 ถุงต่อ 1 หลุมใน 1 ไร่ ใช้ต้นกล้า 6,400
ถุง จึงทำให้เกษตรกรบางส่วนไม่อยากลงทุน ในเรื่องของโรคนั้น
มันมีปัญหาในเรื่องของหนอเน่าในช่วงฤดูฝน
จึงควรมีวิธีในการระบายน้ำไม่ให้น้ำขังบริเวณโคนของกอ
เพียง 6 – 7 เดือน เราก็สามารถขุดข่าเหลืองไปจำหน่ายได้แล้ว ถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำเงินได้ไม่น้อยเลยทีเดียว.!!
Email: taajook@gmail.com
เครดิต:http://www.kaset4u.com
การ..ปลูกกล้วยหอมทอง
เยือนแหล่งปลูกกล้วยหอมทองแหล่งใหญ่ ที่ รังสิต เกษตรกรรายใหญ่ปลูกกันนับ 1,000 ไร่
หลังการล่มสลายของส้มรังสิต จนทำให้ชาวสวนส้ม
รังสิตที่ร่ำรวยจากส้มย้ายถิ่นฐานไปหาแหล่งผลิตส้มแหล่งใหม่กันในหลาย
พื้นที่ สุดท้ายหลายคนยอมยกธงยอมแพ้กลับมาปักหลักที่รังสิตเหมือนเดิม
ขณะที่ทุ่งรังสิตวันนี้มีพืชหลากหลายชนิดเข้ามาครองพื้นที่
แต่พืชที่ครองพื้นที่มานานและได้รับความนิยมปลูกเป็นอันดับต้นๆ
อีกทั้งยังเป็นพืชที่สร้างฐานะ
ความร่ำรวยให้กับเกษตรกรจำนวนมากของที่นี่ก็คือ กล้วยหอม นั่นเอง
ความนิยมของพืชชนิดนี้ทำให้มองเห็นสวนกล้วยหอมอยู่ตลอดเส้นทาง
และอาจจะกล่าวได้ว่าที่นี่ติดอันดับแหล่งปลูกกล้วยหอมทองแหล่งใหญ่ระดับ
ประเทศเช่นกัน ที่น่าทึ่งก็คือ
เกษตรกรรายใหญ่ของที่นี่เขาปลูกกล้วยหอมกันเป็นร้อยๆ ไร่
หลายร้อยไร่หรือจนถึงระดับพันไร่กันเลยทีเดียวเช่นเดียวกับเกษตรกรที่เราจะพาไปเยี่ยมสวนกล้วยของ เขาในครั้งนี้ก็ปลูกกล้วยร่วม 1,000 ไร่ เหมือนกัน โดยจะทยอยปลูกไปเรื่อยๆหลายแปลง นั่นคือ คุณเกษม หลีนวรัตน์ อดีตชาวสวนส้มที่ปลูกส้มมานานตั้งแต่ครั้งพ่อ-แม่ แต่หลังจากส้มเกิดวิกฤตจนต้องเลิกปลูก หันไปค้าขายอยู่ที่สี่มุมเมืองพักหนึ่ง พอมีทุนจึงคิดกลับมาทำสวนอีกครั้ง โดยมองว่ากล้วยหอมเป็นพืชที่มีอนาคตจึงปลูกกล้วยครั้งแรกในพื้นที่ 40 ไร่ หลังจากขายกล้วยแล้วเห็นว่าสร้างรายได้ดี รุ่นต่อมาจึงขยายพื้นที่เพิ่มเป็น 70 ไร่ พร้อมกับชักชวนพี่ๆน้องๆมาปลูกกล้วยด้วยกัน หลังจากนั้นก็ขยับขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นเรื่อยมา เป็นเวลานานกว่า 10 ปีแล้ว พี่ๆน้องๆ ต่างก็ปลูกกล้วยกันเป็นอาชีพหลักกันทั้งหมด ปัจจุบัน คุณเกษมมีพื้นที่ปลูกกล้วยหอมอยู่ประมาณ 920 ไร่ กระจายอยู่หลายแปลงทั้งในเขตรังสิต อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี และ อ.วังน้อย จ.อยุธยา ซึ่งแปลงที่เรามาเยี่ยมชมนี้เป็นแปลงที่ อ.วังน้อย ซึ่งเป็นพื้นที่เช่าและพื้นที่เช่าที่นำมาปลูกกล้วยส่วนใหญ่ก็จะเป็นพื้นที่ สวนส้มเดิมเพราะไม่ต้องไปลงทุนปรับพื้นที่ใหม่ อีกทั้งพื้นที่สวนส้มเดิมนั้นก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก ในบริเวณนี้นอกจากสวนกล้วยของคุณเกษมแล้วก็มีชาวสวนที่รังสิตอีกหลายรายที่ มาเช่าพื้นที่สวนส้มเดิมเพื่อปลูกกล้วยเช่นเดียวกับคุณเกษม ซึ่งแต่ละแปลงก็จะเป็นแปลงขนาดขนาดใหญ่ พื้นที่ระดับ 100 กว่าไร่ขึ้นทั้งนั้
สำหรับ การปลูกกล้วยนั้นคุณเกษมบอกว่าจะทยอยปลูกครั้งละ 50 ไร่ แต่ละรุ่นก็ห่างกัน 20-30 วัน เพราะถ้าปลูกครั้งละมากๆ กล้วยสุกพร้อมกันเป็นจำนวนมากในแปลงจะทำให้ตัดขายไม่ทันหรือถ้ากล้วยออกมา เจอช่วงราคาถูกก็แย่ อีกทั้งการปลูกพร้อมกันในพื้นที่มากๆ ต้องมีแรงงานจำนวนมากเพื่อจัดการงานแต่ละอย่างพร้อมๆกัน การปลูกกล้วยในพื้นที่พอประมาณและให้มีกล้วยตัดขายป้อนตลาดอย่างต่อเนื่องจะ ดีกว่า ซึ่งกล้วยแต่ละแปลงนั้นคุณเกษมก็จะมีคนงานประจำเพื่อดูแลกล้วยในแต่ละแปลงๆหนึ่งก็ 5-6 คน
คุณ
เกษม บอกว่า กล้วยหอมเป็นพืชที่สร้างรายได้ดี ปลูกและดูแลง่าย
ขอเพียงแต่อย่าให้มีลมแรงซึ่งเป็นอุปสรรคอันยิ่งใหญ่ของการปลูกกล้วย
เพราะถ้าเจอลมก็เท่ากับรายได้หายไปในพริบตาเลยทีเดียว
กล้วยหอมใช้เวลาประมาณ 9 เดือนก็จะสามารถตัดขายได้ โดยพื้นที่ 1 ไร่
ปลูกกล้วยได้ประมาณ 300 ต้น ที่นี่จะปลูกกล้วยบนร่องส้มเดิม
โดยปลูกแบบสลับฟันปลา ห่างกัน 1.50 เมตรต่อต้น
หน่อกล้วยก็จะขุดจากในสวนไปปลูก คุณเกษมบอกว่า การที่กล้วยจะงาม
ให้ผลผลิตดีหมายถึงเครือใหญ่ หวีใหญ่ ผลโต
ต้องเริ่มตั้งแต่การเตรียมดินที่ดี
ก่อนปลูกกล้วยในแต่ละแปลงจะปล่อยน้ำเข้าไปแช่ในแปลงก่อนประมาณ 20 วัน
ปล่อยน้ำออกแล้วตากดินให้แห้ง
จากนั้นใช้รถแม็คโครพรวนดินบนร่องให้ร่วนซุยพร้อมกับใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อ
เพิ่มความสมบูรณ์และปรับสภาพดิน เมื่อกล้วยอายุประมาณ 1 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร
25-7-7 เดือนละครั้ง ถ้าต้นไม่ค่อยสมบูรณ์ก็จะใส่ยูเรียผสมด้วย ต้นละ 2-3
ช้อนแกง อายุได้ 4 เดือนเปลี่ยนมาใช้ 16-16-16 ผสมยูเรีย (46-0-0)
และใส่กระดูกป่นด้วยเพื่อให้กล้วยขยายปลีได้ดี กล้วยปลีใหญ่ เครือก็จะใหญ่
หวีก็จะใหญ่ อายุ 6 เดือนกล้วยจะออกปลี เมื่อกล้วยติดผลสุดปลีแล้วจะเน้น
16-16-16 ผสมกับ 13-13-21 ลดยูเรียลงแต่ก็จะผสมยูเรียด้วย
จะทำให้กล้วยได้หวีต่อเครือเยอะ
แต่ถ้าใส่ยูเรียเยอะจะได้จำนวนหวีต่อเครือน้อย
กล้วยจะเน้นปุ๋ยทางดินเป็นหลัก ไม่เน้นทางใบ
จึงต้องให้กินปุ๋ยทางดินอย่างเต็มที่ ที่นี่จะให้ปุ๋ยทุกเดือนๆละครั้ง..
กล้วยเป็นพืชที่ใช้สารเคมีน้อยแต่ก็ต้องพ่น
สารเคมีบ้างเหมือนกัน เพื่อป้องกันเชื้อราที่สวนจะใช้คาร์เบนดาซิมเป็นหลัก
ส่วนแมลงก็จะพ่นสารคาร์โบซัลแฟน เมโทมิล เดือนละ 1-2
ครั้งขึ้นอยู่กับการระบาดของโรค-แมลง
ส่วนการให้น้ำต้องรดน้ำให้ชุ่มเพราะกล้วยชอบน้ำ โดยวันหนึ่งจะรดน้ำ 2 ครั้ง
โดยใช้เรือรดน้ำการจัดการอื่นๆ ก็มีการจัดการกับหญ้าในแปลง
ช่วงต้นเล็กจะจ้างแรงงานมาถอนต้นกล้วยโตแล้วก็จะฉีดยาฆ่าหญ้าได้
นอกจากนี้ก็จะมีการตัดแต่งใบเพื่อไม่ให้ทึบจนเกินไป ไม่รกเกะกะ
ให้แสงและลมเข้าถึงได้ดี โดยให้เหลือไว้ประมาณ 11 ใบ
ใบที่เบียดกับหวีกล้วยต้องหมั่นแต่งออกเพราะจะทำให้ผลกล้วยลายได้
และเมื่อกล้วยตกเครือหรือออกเครือแล้วต้องใช้ไม้ไผ่มาค้ำกล้วย
เพื่อป้องกันไม่ให้เครือหักหรือต้นล้มในยามที่มีลมแรงหรือลมกันโชก
อายุ
9 เดือนกล้วยตัดขายได้ กล้วยงามๆ หนึ่งเครือจะมีประมาณ 6-7 หวี
โดยหวีหนึงจะมี 10 ลูก ถือเป็นเกรดเอ แต่ถ้าต่ำกว่า 10 ลูกเป็นเกรดรอง
และถ้าหนึ่งเครือต่ำกว่า 5 หวีแม่ค้าจะนับ 3 เครือเป็น 2 เครือ
ช่วงที่เก็บผลผลิตจะเก็บผลผลิตทุกวันๆ ละ 2-3 คันรถๆหนึ่งประมาณ 130-150
เครือ กล้วยที่สวนส่งขายหลายตลาดทั้งตลาดไท
ส่งห้างสรรพสินค้าโดยผ่านบริษัทซึ่งจะนำไปส่งคาร์ฟู บิ๊กซี โลตัส
โดยกล้วยที่ส่งห้างสรรพสินค้านี้จะส่งอาทิตย์ละ 3 ครั้งๆละ 200 ตะกร้าๆ 4
หวี ราคากล้วยที่ส่งตลาดนี้จะอยู่ประมาณ 14-15 บาท/กก.
นอกจากนี้ยังส่งกล้วยให้กับการบินไทยอีกด้วย เป็นกล้วยคุณภาพที่สวย
ไม่มีที่ติ โดยจะส่งอาทิตย์ละ 4 วัน ครั้งละ 50-60 ตะกร้าๆละ 4 หวี โดยคัด 3
เกรด ใหญ่ กลาง เล็ก ใหญ่ 3 กก. กลาง 2.5 กก.เล็กก็จะต่ำกว่านี้ลงมา
ราคากล้วยที่ส่งการบินไทยจะได้ราคาสูง 38 บาท/กก.
สำหรับกล้วยที่ผิวไม่สวยหรือตกเกรดนั้น
ก็จะนำไปขายให้กับโรงงานทำเค้กกล้วยหอม
ราคากล้วยช่วงที่ผ่านมาขายได้เครือละ 180-200 บาท
ช่วงที่ผลไม้ในฤดูออกมามาก คนจึงนิยมผลไม้ในฤดูกันก่อน ราคาก็จะลงมาอยู่ที่
150 บาท ถ้าเป็นช่วงช่วงเทศกาลตรุษจีน สาร์ทจีน
ซึ่งเป็นช่วงที่จะต้องใช้กล้วยเป็นจำนวนมากและราคาดี ราคากล้วยจะขึ้นไปถึง
230-250 บาทเลยทีเดียว
คุณเกษม บอกว่า กล้วยหอมนั้นเป็นผลไม้ที่ทำรายได้ดี แต่มีปัญหาอยู่ในเรื่องของลมพัดแรง ทำให้ต้นล้มหรือคอหักลงมาได้ นั่นเท่ากับว่าเงินที่ลงทุนไปสูญเปล่า
สนใจติดต่อ คุณเกษม หลีนวรัตน์ 20/1 ม.5 ต.คลองเจ็ด อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โทร.081-919-4759
คุณเกษม บอกว่า กล้วยหอมนั้นเป็นผลไม้ที่ทำรายได้ดี แต่มีปัญหาอยู่ในเรื่องของลมพัดแรง ทำให้ต้นล้มหรือคอหักลงมาได้ นั่นเท่ากับว่าเงินที่ลงทุนไปสูญเปล่า
สนใจติดต่อ คุณเกษม หลีนวรัตน์ 20/1 ม.5 ต.คลองเจ็ด อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โทร.081-919-4759
Email:taajook@gmail.com
เครดิต : cr. Rakkaset Nungruethail รักษ์เกษตร
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)